วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

มาเลเซียประกาศยกเลิกการแบนนำเข้าโค-กระบือจากไทย แล้วหลังไทยมีมาตรดารควบคุมโรคเข้ม มีผลส่งออกตามเงื่อนไขได้ทันที

 


นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าล่าสุด กรมสัตวแพทย์บริการ (The Veterinary Services Department (DVS)) ประเทศมาเลเซีย ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแจ้งยกเลิกการแบนนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทย ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2565 มีผลทันที โดยประเทศไทยสามารถส่งออกโค-กระบือ (ทั้งโค-กระบือขุนและพ่อแม่พันธุ์) ไปประเทศมาเลเซียตามเงื่อนไขและขั้นตอนการนำเข้าได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องต่อด้านปศุสัตว์และอุตสาหกรรมผู้เลี้ยงโค-กระบือ โดยการประกาศของทางมาเลเซียเนื่องจากเค้าเชื่อมั่นในระบบการควบคุมและป้องกันโรคของประเทศไทย


เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปีสกินในประเทศไทย เพื่อเป็นการป้องกันโรคและลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดต่ออุตสาหกรรมโค-กระบือของประเทศมาเลเซีย มาเลเซียจึงประกาศระงับการนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2564 นั้น ซึ่งล่าสุดมีข่าวดีมาแจ้งได้รับรายงานใน วันที่ 15 มีนาคม 2565 ว่ากรมสัตวแพทย์บริการ (DVS) ประเทศมาเลเซีย ได้ออกประกาศรายงานและมีหนังสือแจ้งกรมปศุสัตว์มาอย่างเป็นทางการแล้ว อนุญาตให้นำเข้าโค-กระบือ (ทั้งโค-กระบือขุนและพ่อแม่พันธุ์) จากประเทศไทยได้ โดยมีผลทันที เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีความเชื่อมั่นในระบบการป้องกันและควบคุมโรคลัมปีสกินในโค-กระบือของประเทศไทยว่ามีมาตรการในการดำเนินการที่ครอบคลุมมีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดควบคุมและป้องกันการเกิดโรคได้ มีมาตรการในการตรวจสอบกำกับและการควบคุมการเคลื่อนย้ายที่ชัดเจน 


อย่างไรก็ตาม DVS และกรมปศุสัตว์ ประเทศไทย ได้ทบทวนจัดทำและบรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการในการควบคุมโรคลัมปีสกินและขั้นตอนในการนำเข้า ซึ่งจะมีการปรับข้อกำหนดมาตรการและขั้นตอนการนำเข้าบางส่วนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบในการเกิดโรคจากการเคลื่อนย้ายโค-กระบือเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ซึ่งกรมปศุสัตว์ต้องมีการขึ้นทะเบียนทั้งผู้นำเข้า พ่อค้าคนกลาง และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ และต้องมีการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2559 และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญต้องกำกับดูแลให้ทั้งผู้นำเข้า พ่อค้าคนกลาง และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคลัมปีสกิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวกับการนำเข้าโค-กระบือสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้สัตว์ที่เป็นโรคเข้าไปสู่ประเทศมาเลเซียได้ ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อป้องกันและควบคุมโรคลัมปีสกินเท่านั้น ยังครอบคลุมถึงโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และโรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) ด้วย โดยจากข้อมูลกองสารวัตรและกักกันพบว่าตั้งแต่ปี 2561 - มิถุนายน 2564 มีปริมาณโค-กระบือที่นำเข้าไปมาเลเซียประมาณ 68,523 ตัว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทยมากขึ้นในช่วงเทศกาลฮารีรายอ ฮัจจิ (Hari Raya Haji) หรือเทศกาลแห่งการบูชายัญและขอให้เกษตรกรและผู้เลี้ยงโค-กระบือทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรค ต่อไปเพื่อป้องการการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“THAICID” ร่วมกับ กรมชลประทาน เปิดเวที งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID-NWIKS 2024

นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 25...