วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ทะลุ 3 แสนแล้วจ้า

ภารกิจข้าวแสนกล่อง สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เครือข่าย Food For Fighters ยังคงยืนหยัดส่งข้าวให้พี่น้องในชุมชนคนเปราะบางเป็นเดือนที่ 3 ส่งมอบให้กับชุมชนใน 25 เขต กรุงเทพฯ และอีก 7 อำเภอในพื้นที่ปริมณฑลรวม 5 จังหวัด นับรวมถึงวันนี้ (30 ก.ค.64) ได้ส่งข้าวกล่องแล้วทั้งสิ้น 304,718 กล่อง โดยกลุ่มผู้มีจิตศรัทธา 3 อันดันแรกที่ร่วมบริจาคในภารกิจนี้ ได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 12,950 กล่อง สมาคมนิสิตเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ 12,400 กล่อง และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์และนิสิตเก่าวิศวะ รุ่น 2506, 2521 และ 2529 11,600 กล่อง ตามลำดับ  

สำหรับผู้ที่สนใจยังคงบริจาคอาหารกล่องและสิ่งของที่จำเป็นเข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง โดยนำส่งได้ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ตั้งวันนี้ ขยายเวลาเปิดรับออกไปจนถึงวันที่ 31 ส.ค.2564 ตั้งแต่ 09:00-17:00 น. หรือร่วมบริจาคเงินสมทบทุนได้ที่ บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่ 729 -233242-7 ชื่อบัญชี มูลนิธิคุวานันท์  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณแมค 096-991-6363 และคุณพืช 086-564-0957 #ChulaAlumni #FoodForFighters #ข้าวแสนกล่อง 



วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

บอกรักแม่ แชร์เมนูโปรดกับพาลาทีน สวีทเทนเนอร์ใหม่เพื่อคนรักสุขภาพ และผู้ป่วยเบาหวาน

บริษัท อีทเวลล์ จำกัด ผู้ผลิต พาลาทีน สวีทเทนเนอร์ใหม่เพื่อคนรักสุขภาพ และผู้ป่วยเบาหวานขอเชิญชวนลูก ๆ ร่วมแชร์รูปภาพอาหารจานโปรดของคุณแม่เพื่อลุ้นรับของรางวัลสุดพิเศษจากพาลาทีน โดยมีกติกา ดังนี้      

1. กดถูกใจเพจ Palatyne และกดแชร์โพสต์นี้แบบสาธารณะ

2. ใส่แคปชั่นในโพสต์ว่า “บอกรักแม่ แชร์จานโปรด”

3. แท็กคุณแม่ (หากคุณแม่ไม่มีบัญชี Facebook สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยค่ะ)

4. ติด #palatynehealthysweetener และ #หวานได้ไม่กลัวเบาหวาน

5. ถ่ายรูปอาหารจานโปรดของคุณแม่คู่กับสินค้าพาลาทีน

6. คอมเมนต์รูปลงใต้โพสต์นี้ พร้อมแชร์ประสบการณ์ในการใช้สารให้ความหวานในอาหาร หรือเครื่องดื่ม

โดยทางบริษัทฯจะสุ่มผู้โชคดีจำนวน 10 ท่าน ที่จะได้รับรางวัลเป็นเซ็ตของขวัญจากพาลาทีน  พิเศษ! สำหรับคอมเมนต์ที่ได้รับการกดถูกใจมากที่สุดจำนวน  1 ท่าน จะได้รับของรางวัลเป็น Gift voucher ห้องพัก Deluxe สุดหรูจากโรงแรม The Heritage Chiangrai เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน มูลค่า 12,000 บาท ให้คุณได้พาแม่ไปพักผ่อนหย่อนใจกันถึงเชียงรายกันแบบฟรี ๆ (สามารถใช้ได้ถึง 31 ธ.ค. 65)  สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 31 ส.ค. 64 และจะประกาศผลกิจกรรมในวันที่ 5 กันยายน 2564 ผ่านทางเพจ Palatyne สวีทเทนเนอร์ใหม่เพื่อสุขภาพ 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาโทร 086-369- 5555

CPF หนุน 7 คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดของเสียในกระบวนการผลิต บริหารทรัพยากรคุ้มค่า

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ส่งเสริมหน่วยธุรกิจในองค์กร นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ดำเนินงาน ชูคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ 7 แห่งทั่วประเทศ บริหารจัดการทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด และลดของเสียในกระบวนการผลิต โชว์ความสำเร็จระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่หรือไบโอแก๊ส (Biogas) ผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้เอง ลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ 85% และในปี 2563 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 113,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า  

นายสมคิด วรรณลุกขี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจไก่ไข่ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า  คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ทั้ง 7 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา ร้อยเอ็ด อุดรธานี จันทบุรี และสงขลา นอกจากให้ความสำคัญในเรื่องกระบวนการผลิตที่สะอาดและปลอดภัย เพื่อส่งมอบสู่ผู้บริโภคแล้ว ยังนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้บริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดห่วงโซ่การผลิต  ลดของเสียในกระบวนการผลิต รวมไปถึงการนำของเสียกลับไปใช้ให้เกิดประโยชน์  ซึ่งในกระบวนการเลี้ยงไก่  มีการจัดการของเสีย ด้วยระบบการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลไก่ หรือไบโอแก๊ส (Biogas) ช่วยลดกลิ่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ และยังได้พลังงานสะอาดจากกระบวนการหมักก๊าซมีเทนเปลี่ยนน้ำเสียเป็นไบโอแก๊ส สามารถนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ภายในคอมเพล็กซ์ ช่วยลดต้นทุนด้านไฟฟ้าถึง 65-85%  โดยในปี 2563  คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ 7 แห่ง สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 103 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 113,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า  


หลังจากกระบวนการหมักในระบบไบโอแก๊ส จะมีน้ำหลังการบำบัดที่โดยปกติจะไม่มีการปล่อยออกสู่ภายนอก  สามารถใช้หมุนเวียนไปผสมกับมูลไก่ในระบบฯได้อีกครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้น้ำดิบจากธรรมชาติ ส่วนกากไบโอแก๊ส ที่เกิดจากกระบวนการหมักและบำบัด  มีเกษตรกรที่ขอไปใช้ประโยชน์ในการปรับสภาพดินก่อนที่จะปลูกพืช หรือทำนา ส่วนน้ำหลังการบำบัด ซึ่งเป็นน้ำที่มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด เป็นน้ำปุ๋ยที่มีแร่ธาตุเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช  เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงนำไปใช้ในไร่ สวน ช่วยให้ผลผลิตเติบโตได้ดี มีผลผลิตเพิ่มขึ้น และช่วยลดค่าปุ๋ยเคมี


นอกจากนี้ คอมเพล็กซ์ไก่ไข่ทั้ง 7 แห่ง มีโครงการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต ซึ่่งได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยสามารถช่วยลดปริมาณไข่ที่ไม่ได้มาตรฐาน อาทิ ไข่ร้าว ไข่ซีด ไข่บุบ ฯลฯ รวมไปถึงยังช่วยลดต้นทุนและลดของเสียที่เป็นภาระต้องกำจัดได้ 


นายสมคิด กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ในการจัดการของเสีย อาทิ ไข่ที่แตกจากกระบวนการผลิต  ทั้งน้ำไข่ผสมเปลือก และน้ำไข่เสื่อมสภาพ มีการบริหารจัดการ โดยจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่นำไปใช้ประโยชน์ หรือนำไปทำเป็นอาหารเลี้ยงปลา เป็นต้น เป็นการช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบ และขยะที่ต้องกำจัดลงได้


ในส่วนของเปลือกไข่ไก่ที่เกิดจากกระบวนการแปรรูปไข่  โรงงานแปรรูปไข่บ้านนา จังหวัดนครนายก ได้ดำเนินโครงการ “ปุ๋ยอินทรีย์จากเปลือกไข่บด” นำเปลือกไข่ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตปีละประมาณ 1,000 ตัน มาบดเพื่อแบ่งปันให้เกษตรกรใช้เป็นปุ๋ย ช่วยลดต้นทุนทางการเกษตร เป็นการสร้างประโยชน์สูงสุดในการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า ตัดวงจรการนำเปลือกไข่ไปทิ้งสู่หลุมฝังกลบ

สกสว. เปิดเวที STO Forum ระดมสมองกำหนดทิศทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทย


วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุม Science and Technology Organization Forum (STO Forum) ครั้งที่ 3/2564 โดยเชิญผู้บริหารหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย เข้าร่วมระดมสมองหารือถึงแนวทางการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และแนวทางการสนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) สำหรับโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ


โอกาสนี้ รศ.ดร. ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือของ สกสว. กับหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย ในการร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ซึ่งเป็นความคืบหน้าจากการดำเนินการตามแผนงานต่าง ๆ ความร่วมมือการพัฒนานี้จะนำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทยแบบไร้รอยต่อ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้มีนโยบายเกี่ยวกับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศที่สามารถก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 


ทางด้าน ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกสว. ได้นำเสนอถึงแนวทางการสนับสนุนงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำหรับโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี โดยที่ผ่านมา สกสว. ได้ระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ได้กรอบกิจกรรมสำคัญและรายละเอียดของลักษณะโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จากนั้น สกสว. ได้เสนอกรอบแนวคิดและแนวทางการสนับสนุน “โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี” ซึ่งที่ผ่านมาได้นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบนวัตกรรม และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) โดยกองทุนส่งเสริม ววน. มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในหลากหลายมิติ ครอบคลุมถึงการพัฒนาต้นทุนทรัพยากรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 


การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นเป็นไปตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. โดยมีกิจกรรมสำคัญสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  2) การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงและตอบโจทย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สำคัญ 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ 4) การให้บริการเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย 5) การสื่อสารและสร้างเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ด้าน ววน. 


ทางด้าน รศ.ดร.ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) ได้นำเสนอแนวทางการบริหารและใช้ประโยชน์จากศูนย์ไซโคลตรอน โดยอธิบายว่า เครื่องไซโคลตรอนถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ โดยปัจจุบัน สทน. อยู่ระหว่างการดำเนินการสร้างศูนย์ไซโคลตรอนของประเทศ ซึ่งไซโคลตรอนนั้นเป็นเครื่องเร่งอนุภาคไอออน ปัจจุบันการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในภาคธุรกิจรวมถึงทางด้านการแพทย์ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลิตสารเภสัชรังสี อย่างเช่นไอโซโทปที่ใช้สำหรับการตรวจและรักษาโรคมะเร็ง ปัจจุบันมีการนำเครื่องไซโคลตรอนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตสารเภสัชรังสีเกี่ยวกับการทำ Proton Therapy 


การรักษาโรคมะเร็งด้วยอนุภาคโปรตอน มีข้อดีคือสามารถปล่อยพลังงานเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการ ไม่ทำให้เกิดแผล สามารถปล่อยพลังงานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในตำแหน่งที่ต้องการ ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด เช่น สามารถใช้ในการรักษามะเร็งสมอง เป็นเทคนิคที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สทน. มีแผนการพัฒนาศูนย์ไซโคลตรอนเพื่อให้บริการงานวิจัยในด้านต่างๆ ด้วย ซึ่งการติดตั้งเครื่องคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2564 สามารถเป็นศูนย์กลางในการให้บริการผลิตสารเภสัชรังสี ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการรักษาโรคด้วยเภสัชรังสีในราคาที่เข้าถึงได้ ถือเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ


นอกจากนี้การประชุมในวันนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันระดมสมองเกี่ยวกับการร่วมกันพัฒนาระบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมถึงแนวทางการสนับสนุนและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ

"ธรรมนัส" จับคู่ "ผู้ประกอบการ-กลุ่มเกษตรกร" เร่งขับเคลื่อนปลูกฟ้าทะลายโจร เพิ่มรายได้สู้โควิด

เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายขับเคลื่อนการตลาดฟ้าทะลายโจร จับคู่ผู้ประกอบการกับกลุ่มเกษตรกร โดยมอบหมายให้ดร.ธนสาร ธรรมสอน ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมประชุมหารือกับกรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โดยมี พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการที่ผลิตฟ้าทะลายโจร จำนวน 10 บริษัท ได้แก่ แก้วมังกรเภสัช อ้วยอัน สมุนไพรไทย ขาวลออเภสัช JSP Pharma ทิปโก้ โชคชัย เวชพงศ์โอสถ ธงทอง มิลลิเมต หน่วยงานภาครัฐ เพื่อหาปริมาณความต้องการของผู้ประกอบการในการผลิตยาฟ้าทะลายโจรและจับคู่ธุรกิจผู้ประกอบการผลิตฟ้าทะลายโจรกับกลุ่มเกษตรกร

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบัน การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นรวดเร็วและมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากขึ้น สมุนไพรไทยโดยเฉพาะฟ้าทะลายโจร ทางกระทรวงเกษตรฯ จึงสนับสนุนการจับคู่ผู้ประกอบการกับกลุ่มเกษตรกร โดยผู้ประกอบการผลิตฟ้าทะลายโจรทั้ง 10 บริษัท มีความต้องการเพิ่มเติมการใช้ยาฟ้าทะลายโจรจากเดิมอีก 316 ตันแห้ง กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก จึงให้ผู้ประกอบการจับคู่ธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกร เพื่อที่จะให้เกษตรกรมีตลาดที่แน่นอนและผู้ประกอบการสามารถผลิตฟ้าทะลายโจรที่มีคุณภาพ ปราศจากสารโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง และสารเคมี ที่ไม่เกินกฎหมายกำหนด รวมถึงขั้นตอนในการเก็บเกี่ยว การตาก การอบ เพื่อรักษาคุณภาพและไม่มีเชื้อราในฟ้าทะลายโจร นับเป็นโอกาสของเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรสามารถปลูกฟ้าทะลายโจรให้มีคุณภาพ เพื่อแปรรูปผลผลิตจำหน่ายเอง หรือจำหน่ายเป็นวัตถุดิบให้กับหน่วยงานที่จะนำไปแปรรูปเป็นยาเพื่อใช้ในการรักษาต่อไปได้

นอกจากนี้ สำหรับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก. ทั่วประเทศ ที่ปลูกฟ้าทะลายโจร ที่ได้มาตรฐาน มกท. มกษ. GAP PGS:IFOM จำนวน 18 จังหวัด ที่มีศักยภาพในการปลูกฟ้าทะลายโจรที่ได้คุณภาพจะเป็นกำลังสำคัญในการขยายพื้นที่ปลูกฟ้าทะลายโจรตามความต้องการของผู้ประกอบการ

“ทั้งนี้ ผมได้มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดินตรวจสอบคุณภาพดินว่ามีสารโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง และสารเคมีอื่นหรือไม่ และจะต้องปรับปรุงคุณภาพดินและน้ำอย่างไร รวมทั้งให้ ส.ป.ก. กำหนดพื้นที่ในการปลูกฟ้าทะลายโจร โดยขยายพื้นที่ในกลุ่มเกษตรกรเดิม จัดหาพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่มีค่าสารแอนโดรกราโฟไลด์สูง มีผลผลิตต่อไร่สูง เช่น พันธุ์พิจิตร 4-4 พันธุ์พิษณุโลก 5-1 และให้นำเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สนับสนุนปัจจัยการผลิต โรงอบสมุนไพรพลังแสงอาทิตย์ ให้กู้ยืมเงินจากกองทุนฯ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรเพื่อการปลูกฟ้าทะลายโจรที่มีตลาดอย่างแน่นอนเพื่อสร้างรายได้ ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อไป”ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

สภาเอสเอ็มอี’ ร่วมภาคีเครือข่าย และ สภ.บางปู มอบถุงยังชีพให้กลุ่มผู้กักตัวและผู้ติดเชื้อโควิคที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน


วันที่ 30 สิงหาคม 2564 นางสาวภัคข์ประภัส สุขใส กรรมการสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (สภาเอสเอ็มอี) ได้รับมอบหมายจากนายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ประธานสภาเอสเอ็มอี  เป็นผู้แทนในการมอบถุงยังชีพ ร่วมกับ สภ.บางปูโดยมีพ.ต.อ.พิสุทธิ์ จันทรสุวรรณ ผกก.สภ.บางปูพ.ต.ท.จีรวัช รุ่งกลิ่น รอง ผกก.ป.สภ.บางปูพ.ต.ต.กริช รัตนสกล สวป.สภ.บางปู เป็นตัวแทน มอบสิ่งของให้กับครอบครัวที่มีผู้ต้องกักตัว และผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ในพื้นที่ ตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนใน้บื้องต้นในการดำรงชีพในช่วงวิกฤติโควิคที่เกิดขึ้นในขณะนี้

ทั้งนี้ นายไชยวัฒน์ หาญสมวงศ์ ประธานสภาเอสเอ็มอีเปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงปัจจุบันซึ่งเป็นการแพร่ระบาดในระลอกที่ 3 และกำลังจะเข้าสู่ระลอกที่ 4 ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนรัฐบาลต้องออกประกาศล็อกดาวน์ 13 จังหวัด ในพื้นที่สีแดงเข้ม (ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา) และคาดว่าประเทศไทยน่าจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากนี้ไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี 


จากปัญหาที่เกิดขึ้นทางสภาเอสเอ็มอี จึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดตั้งโครงการมอบถุงยังชีพให้กับกลุ่มครอบครัวที่มีผู้ต้องกักตัว และผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกัน ซึ่งในถุงยังชีพดังกล่าว ยังมีสมุนไพรไทยที่มาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปาริชาต ที่เป็นภาคีเครือข่ายสภาเอสเอ็มอีด้วย เป็นการอุดหนุนสินค้า SMEs อีกช่วงทางหนึ่งด้วย












วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ตำรวจ ปทุม ร่วมบริจาคเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์ และอาหาร ช่วย โรงพยาบาลธัญบุรี ร่วมต่อสู้ โควิค 19

พ.ต.อ.นิรุธ  ประสิทธิเมตต์ รอง ผบก.ภ.จว.ปทุมธานีพร้อมด้วย, พ.ต.อ.วิวัฒน์  อัศวะวิบูลย์ ผกก.สภ.ธัญบุรี และ พ.ต.ท.ธนกฤต  อินภู่ รอง ผกก.ป.สภ.ธัญบรี ได้ร่วมจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์ และส่งมอบให้กับบุคลากรโรงพยาบาลธัญบุรี ไว้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 ณ โรงพยาบาลธัญบุรี ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี (1) ปรอทวัดไข้ดิจิตอล จำนวน 150 ชุด (2) ชุดป้องกันเชื้อโรคและสารเคมี PPE จำนวน 1 กล่อง เพื่อให้บุคลากรโรงพยาบาลธัญบุรี ไว้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19

นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนอาการกลางวันให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลธัญบุรี  โดยมีราดหน้าเส้นใหญ่ 40 ชุด, ราดหน้าเส้นหมี่ 20 ชุด และ ราดหน้าหมี่กรอบ 20 ชุด รวม 80 ชุด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ( Covid-19 )โดยมี นาย พงศกรณ์  พุฒิศวรรย์ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ และ สนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งจัดส่งตัวแทนทาง โรงพยาบาลเพื่อนำอาหารมอบให้บุคลากรทางการแพทย์ ต่อไป

ทั้งนี้พ.ต.อ.นิรุธ  ประสิทธิเมตต์ รอง ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้มียอดผู้ป่วยสะสมและผู้เสียชีวิตสูงขึ้น เป็นเหตุให้โรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวนมาก ทางทีมตำรวจปทุมจึงร่วมกัน จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยเหลือทางการแพทย์ และอาหาร เพื่อเป็นการสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลธัญบุรี ให้รอดพ้นจากวิกฤตโรคครั้งนี้ ซึ่งเป็นการช่วยประชาชนที่ประสบปัญหาอึกทางโดยทางตำรวจปทุมธานีพร้อมข่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่





วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ขอเชิญบริจาคขวดพลาสติกใช้แล้ว (ขวด PET) ใน “โครงการ แยกขวด ช่วยหมอ” ภารกิจระดมขวดเพื่อแปรรูป ตัดเย็บชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ให้บุคลากรทางการแพทย์

จากสถานการณ์โควิด 19 ของประเทศไทยในขณะนี้ ชุด PPE นับเป็นเสื้อเกราะสำคัญที่จะปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ให้ปลอดภัย นับเป็นการสานต่อโครงการของเฟซบุ๊ค “เพจ Less Plastic Thailand” ผนึก 5 พันธมิตร เดินหน้าโครงการ หวังให้บุคลากรด่านหน้าทางการแพทย์ปลอดภัยจากสถานการณ์โควิด 19 ภารกิจนี้ตั้งเป้าในการส่งมอบชุด PPE Level 2 แบบซักสะอาดใช้ซ้ำได้ 20 ครั้ง (Reusable PPE) จำนวนขั้นต่ำ 5,000 ชุด ให้แก่มูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล และวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ จุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อนำไปบริจาคในพื้นที่ขาดแคลน  

และเพื่อให้การดำเนินงานครบวงจรและภารกิจนี้สำเร็จได้อย่างแท้จริง “เพจ Less Plastic” ได้จับมือกับ “YOUเทิร์น Platform by GC” แพลทฟอร์มบริหารจัดการขยะพลาสติกครบวงจร ที่มีภารกิจระดมขวดพลาสติกใช้แล้ว หรือขวดพลาสติกใสที่เราใช้ดื่มน้ำ จากจุดรับพลาสติกใช้แล้วของ YOUเทิร์น และพันธมิตร ที่ร่วมกันในการเก็บขวดพลาสติกใช้แล้ว และยังใช้เป็นคลังเก็บวัตถุดิบ ก่อนนำไปทำเป็นเส้นใย ถักทอ เคลือบสะท้อนน้ำ ด้าน “ไทยแทฟฟิต้า” จะทำหน้าที่ในการตัดเย็บให้เป็นชุด PPE Level 2 ที่เมื่อซักสะอาดแล้วสามารถใช้ซ้ำได้ 20 ครั้ง เป็นชุดที่เหมาะสำหรับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใส่ป้องกันการติดเชื้อในจุดคัดกรอง หัตถการขนาดเล็ก

ขอเชิญชวนประชาชนทั่วไปรวมพลังในการบริจาคขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้ว ณ จุดรับพลาสติกใช้แล้วของโครงการฯ  ดังนี้ 

• สถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่ร่วมโครงการ

 PTT STATION สาขาแยกประชาอุทิศ-ลาดพร้าว

 PTT STATION สาขาวิภาวดีรังสิต

 PTT STATION สาขาวิภาวดี 11

 PTT STATION สาขารามอินทรา กม. 6.5

 PTT STATION บจ.ที.เค.ที คอมเมอร์เชียล

 PTT STATION สาขามีนบุรี

 PTT STATION สาขายานนาวา

 PTT STATION สาขาจอมทอง


• จุดรับพลาสติกใช้แล้ว โครงการ ส่งพลาสติกกลับบ้าน 

• จุดรับของเครือข่าย Less Plastic Thailand 

• คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

• สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 

• ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

• ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคาร A 

• บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (สำนักงานใหญ่)


หากไม่สะดวกมาที่จุดรับพลาสติกใช้แล้ว สามารถนำส่งไปรษณีย์มาร่วมโครงการ ได้ที่ โครงการแยกขวดช่วยหมอ บริษัท ทีเออาร์เอฟ จำกัด (อาคารบริหารจัดการขยะ) 999 หมู่ 1 ต.หนองปรือ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 

นอกจากนี้ โครงการฯ กำลังขยายจุด Drop Point สู่จังหวัดต่าง ๆ ผ่านช่องทางพันธมิตร ทั้งนี้ สามารถติดตามช่องทางการรับพลาสติกใช้แล้ว และความคืบห น้าโครงการฯ ได้ทางเพจ Less Plastic

นับเป็นความร่วมมือจากพันธมิตรที่จับมือร่วมกันทำงาน ภายใต้จุดประสงค์สำคัญคือ ต้องการช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าปลอดภัยจากสถานการณ์โควิด 19 ให้มากที่สุด ทว่าการร่วมมือกันเพื่อให้ภารกิจในครั้งนี้บรรลุผลอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ยังมุ่งการสร้างกรอบความคิด (Mindset) ร่วมกันของทุกภาคส่วนในการนำขวดพลาสติกใช้แล้วจาก YOUเทิร์น Platform by GC และพันธมิตร สะท้อนให้เห็นถึงการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนควบคู่ไปด้วย  ระหว่างนี้ โครงการ Less Plastic ยังคง ขอ "ระดมทุน" เพื่อหาค่าผลิต ค่าตัดเย็บ (ราคาชุดละ 450 บาท) บริจาคผ่าน 2 บัญชี มูลนิธิคณะทันตแพทยศาสตร์มหิดล และวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติ จุฬาภรณ์ มธ. (สิ้นสุด 25 ธันวาคม 2564)

#แยกขวดช่วยหมอ

#YOUเทิร์นเริ่มต้นที่ยู

#EndtoEndWaste

#GCChemistryforBetterLiving

#GCCircularLiving

ชป.ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง หลังจีนประกาศลดการระบายน้ำ “เขื่อนจิ่งหง”


กรมชลประทาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ในแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง หลังจีนประกาศปรับลดการระบายน้ำ “เขื่อนจิ่งหง” ตามข้อสั่งการของ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนให้มากที่สุด 


นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ตามประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) เรื่อง แจ้งเตือนสถานการณ์แม่น้ำโขง ฉบับที่ 6/2564 กอนช. ได้รับประสานจากกระทรวงทรัพยากรน้ำ สาธารณรัฐประชาชนจีน แจ้งปรับลดการระบายน้ำของเขื่อนจิ่งหง จากเดิม 900 – 1,300 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)ต่อวินาที เป็น 700 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงข่ายพลังงาน


ในช่วงวันที่ 31 กรกฎาคม – 20 สิงหาคม 2564 ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงประมาณ 0.50 เมตร แต่จากสภาพอากาศที่มีฝนกระจายตัวในช่วง 3-5 วันนี้  อาจทำให้เกิดน้ำไหลหลากลงสู่แม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง จึงสั่งการให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ในช่วงวันที่ 29 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม 2564 นี้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงราย ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 0.50 เมตร ต่ำกว่าระดับตลิ่ง 7.55 เมตร จังหวัดเลย ระดับน้ำคงที่ ต่ำกว่าตลิ่ง 6.02 เมตร จังหวัดหนองคาย ระดับน้ำลดลง 0.70 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 5.27 เมตร จังหวัดบึงกาฬ ระดับน้ำลดลง 0.40 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 6.58 เมตร จังหวัดนครพนม ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 0.10 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 4.3 เมตร จังหวัดมุกดาหาร ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 0.85 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 4.10 เมตร จังหวัดอำนาจเจริญ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 0.40 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 4.55 เมตร และจังหวัดอุบลราชธานี ระดับน้ำลดลง 0.20 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 4.94 เมตร 


กรมชลประทาน ได้สั่งการไปยังโครงการชลประทานในพื้นที่ดังกล่าว ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งประชาสัมพันธ์ชี้แจงถึงสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงให้ประชาชนในพื้นที่ทราบอย่างต่อเนื่อง หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือติดต่อผ่านเพจ facebook กรมชลประทาน หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา

ตลาด อ.ต.ก. พร้อมเปิดให้บริการตามปกติ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2564

 

นายปณิธาน มีไชยโย รองผู้อำนวยการ อ.ต.ก. รักษาการแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการ อ.ต.ก. กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ได้พิจารณาหาแนวทางมาตรการควบคุมป้องกันการระบาดเชื้อไวรัสดังกล่าวฯ เพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการบริหารงานและงานบริการประชาชน โดยได้ประกาศปิดให้บริการตลาด อ.ต.ก. ชั่วคราว ระหว่างวันที่ 14-27 กรกฎาคม 2564  

ขณะนี้พร้อมเปิด บริการแล้วตั้งแต่ วันที่ 28 กรกฎาคม2564 นี้ โดยมีการเพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน Covid-19 เต็มรูปแบบ อีกด้วย

“THAICID” ร่วมกับ กรมชลประทาน เปิดเวที งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID-NWIKS 2024

นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 25...