วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2564

อว. เปิดโรงพยาบาลสนาม มทร. ธัญบุรี รองรับผู้ป่วยโควิด-19

           กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีเปิดโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 โดย ศาตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์  ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  เป็นประธานเปิดพร้อมตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่


          เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564 ณ. มทร.ธัญญบุรี  ศาตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  กล่าวว่า ในการดำเนินงานเรื่องของโควิด ทางสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช. กระทรวงอว. ได้มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ตั้งแต่ช่วงแรกของการระบาดในช่วงเดือนมกราคม ปี 2563 เราได้มีการปรับสถานการณ์ปรับการดำเนินงานตามแต่ละระยะ ในช่วงต้นๆเลยวช.เกี่ยวข้องมาก เนื่องจากประเทศขาดข้อมูล ดังนั้นเราดำเนินการเรื่องข้อมูล ว่าโควิดคืออะไรแน่ ติดต่ออย่างไร ระบาดอย่างไร จะดูแลอย่างไร จะป้องกันอย่างไร ช่วงต้นเป็นการดำเนินงานเรื่องข้อมูล ต่อมาเมื่อมีผู้ติดเชื้อในประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นจำได้มีไม่กี่คน  และก็เริ่มมีผู้ติดเชื้อมากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานของวช.ก็ปรับเพิ่มในเรื่องของข้อมูลเป็นการที่จะดูแลให้แน่ใจว่าประเทศไทยมีศักยภาพมีกำลังเพียงพอที่จะดูแลไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือหรือเวชภัณฑ์ต่างๆ เราก็เห็นกิจกรรมที่วช.ทำได้แก่การสนับสนุนให้มีการพัฒนาหน้ากากอนามัย การพัฒนาห้องความดันลบ การพัฒนาชุดการตรวจวินิจฉัย และก็การพัฒนาให้แน่ใจว่าเรามีเครื่องช่วยหายใจที่เป็นกิจกรรมที่ทางวช.ทำงาน ในขณะนี้ซึ่งเป็นระยะที่เข้าสู่การระบาดรอบใหญ่ก็จะมีเรื่องของการดำเนินงานเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าเรามีสถานที่พยาบาลมีที่รองรับ มีที่พักที่จะดูแลผู้ติดเชื้อ จะเห็นการขยายการดำเนินงานเพิ่มเติมจากด้านข้อมูล เพิ่มเติมจากด้านยาเวชภัณฑ์อุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้เข้าไปสู่การเตรียมการให้แน่ใจว่าเรามีโรงพยาบาลสนาม มีสถานที่ในการบริหารจัดการและก็ดูแลผู้ติดเชื้อ ก็จะเห็นว่าในการระบาดของโควิด ภาควิจัย ภาควิชาการ ภาคการศึกษา มีบทบาทที่สำคัญอย่างมากและเป็นการแสดงศักยภาพว่าเราสามารถที่จะเอาข้อมูล นำเอาการพัฒนาขับเคลื่อนการวิจัย ขับเคลื่อนวิชาการ ขับเคลื่อนนวัตกรรม รวมทั้งเอาทุกอย่างนี้มาผสมผสานกันเข้าสู่การบริการให้แน่จว่าคนไทยสามารถดูแลเรื่องนี้เป็นอย่างดี  


           ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ท่านได้มอบนโยบายสำคัญว่า โอกาสนี้เป็นโอกาสสำคัญที่กระทรวงอว. สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย จะได้แสดงให้สังคมเห็นอย่างเต็มที่ว่าที่ประเทศไทยได้ลงทุนเพื่อที่จะสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการวิจัย การวิจัยวิชาการของสถานที่ อุปกรณ์อะไรต่างๆเหล่านี้ประโยชน์ของประเทศคืออะไรบ้าง เห็นชัดว่าจังหวะนี้เป็นจังหวะที่เราได้ดำเนินการเป็นอย่างมากที่สำคัญก็คือว่าเราเชื่อมโยงกับทุกกระทรวง อว.เป็นกองหนุนแต่เป็นกองหนุนสำคัญ ที่ถ้าไม่มีกองหนุนตรงนี้ไปแล้วกองทัพหลักก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ในกรณีของโรงพยาบาลสนาม อว.ได้ดำเนินงานร่วมกับกระทรวงสาธารณะสุข เชื่อมโยงระบบโรงพยาบาลสนามทั้งหมดเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งการบริหารจัดการเตียงทั้งหมดของประเทศ โรงพยาบาลสนามที่เราเห็นในวันนี้ที่มีการเปิดดำเนินการ การรับส่งผู้ป่วย การรับส่งผู้ติดเชื้อต่างๆ รับส่งโดยระบบการบริหารจัดการของสาธารณสุข ดังนั้นเมื่อมีผู้ติดเชื้อเข้าสู่โรงพยาบาลหลักมีการประเมินอย่างดีว่าควรจะดูแลในโรงพยาบาลหลักหรืออยู่ในโรงพยาบาลสนาม ดังนั้นการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันในเป็นเรื่องสำคัญเรามีทั้งเรื่องที่ต้องพัฒนาต่อไปและปรับปรุงเพื่อให้กระบวนการทั้งระบบเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์  ซึ่งกระทรวงอว. ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในสังกัด กระทรวง อว.ขึ้นทั่วประเทศ เพื่อช่วยเป็นกองหนุนในการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ในระลอกนี้  สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 8,243 เตียง รับผู้ป่วยแล้ว 1,646 เตียง (20%) และคงเหลือรองรับได้อีก 6,597 เตียง (80%) และปัจจุบันได้ขยายจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยเพิ่มเป็น  12,822 เตียง พร้อมทั้งยังมีระบบรองรับและการส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงไปยังโรงพยาบาลหลักอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสำหรับ โรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ในเบื้องต้นสามารถรองรับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ได้จำนวน 100 เตียง ซึ่งการดำเนินงานของโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ ได้ดำเนินการตามคำแนะนำของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ก็คือ ต้องมีความปลอดภัย ทั้งระบบตัวอาคาร ระบบจัดการของเสีย การจัดการอากาศ มีบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขคอยควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด มีการจัดโซนนิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อมิให้มีการแพร่เชื้อไปสู่ภายนอก หรือแพร่ระบาดไปสู่ชุมชน ภายนอก   และในอนาคตจะเพิ่มอีก จำนวน 50 เตียง


         ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้แจ้งขอรับการสนับสนุนที่นอนมายัง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เนื่องจากยังขาดแคลนที่นอน ที่จะนำไปใช้ในโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19  วช. จึงได้ส่งมอบนวัตกรรมชุดที่นอนยางพารา จำนวน 200 ชุด แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย  ผิวสะอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นผู้รับมอบ



         ด้านดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า นวัตกรรมชุดที่นอนยางพาราเป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากโครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหมอนยางพาราระดับชุมชน ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน จังหวัดพัทลุง ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยผลิตจากยางพาราแท้ มีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี มีความนุ่มและยืดหยุ่นสูง รองรับสรีระในการนอน ไม่สะสมฝุ่นและเชื้อโรค สามารถทำความสะอาดได้สะดวก อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 10 ปี อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“THAICID” ร่วมกับ กรมชลประทาน เปิดเวที งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID-NWIKS 2024

นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 25...