วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ล้อมวงเสวนา สกสว.ลุย สร้างสมดุล หนุนวิจัย ‘วิทย์ – ศิลป์’ เท่าเทียม

 

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานเปิดงานเสวนาเวทีสาธารณะด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 3 “เส้นทางศิลปะในโลกที่แปรเปลี่ยน”  โดยมีกรรมการที่ปรึกษาคณะทำงานประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Agenda Team ; SAT) ด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ผู้แทนจากหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม (พีเอ็มยู)  สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ตลอดจนนักวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ และสาธารณชน เข้าร่วมงานผ่านระบบการประชุมออนไลน์และเฟซบุ๊กไลฟ์ของ สกสว.

 ทั้งนี้การจัดงานดังกล่าว มีขึ้นเพื่อให้ได้โจทย์วิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ ในการจัดทำแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.)  ของประเทศไทย ตลอดจนหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นความท้าทายและโอกาสและการบูรณาการศิลปะกับเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนด้าน ววน. ที่สอดคล้องกับทิศทางดังกล่าว

โอกาสนี้ ผอ.สกสว. กล่าวว่า   การจัดทำแผนวิจัยจำเป็นต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบทิศทางการดำเนินงาน การจัดเวทีสาธารณะครั้งนี้  ถือเป็นการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านศิลปะและเทคโนโลยี เพื่อออกแบบและกำหนดทิศทาง “การวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ในแผนด้าน ววน.” เพื่อให้มีความสมดุลระหว่างการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์   โดยการเสวนาเวทีสาธารณะภายใต้หัวข้อ “เส้นทางศิลปะในโลกที่แปรเปลี่ยน” ในวันนี้ มุ่งเน้นการหารือประเด็น การบูรณาการระหว่างศิลปะและเทคโนโลยี ภายใต้โลกที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ที่วิถีชีวิตของคนผูกโยงกับเทคโนโลยีอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก เทคโนโลยีช่วยสื่อสารให้คนเข้าถึงงานศิลปะได้ง่ายขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวิธีคิดของคนในปัจจุบันที่ต้องการมีส่วนร่วม ตั้งคำถาม ทดลอง มีปฏิสัมพันธ์กับงานศิลปะ และสามารถฝึกฝนทักษะด้วยตนเองได้  ที่สำคัญการใช้เทคโนโลยียังก่อให้เกิดการสร้างสรรค์งานศิลปะรูปแบบใหม่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ในทางกลับกันศิลปะมีส่วนช่วยในการพัฒนาและเป็นประโยชน์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ลดต้นทุนการผลิตลง  เป็นต้น 


อย่างไรก็ตามปัจจุบัน สถานการณ์การบูรณาการศิลปะและเทคโนโลยีในประเทศไทย ยังเผชิญกับโจทย์ที่ท้าทายอีกหลายประการ อาทิเช่น นโยบายและการสนับสนุนส่งเสริมจากภาครัฐที่ไม่เท่าเทียมระหว่างศิลปะท้องถิ่นเมื่อเทียบกับการสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะในเมืองกรุง  เป็นต้น ดังนั้น สกสว. จึงมีภารกิจสำคัญในการจัดทำแผนและจัดสรรงบประมาณ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้ครอบคลุมทุกสาขาการวิจัยและวิทยาการทุกแขนง โดยเสียงและความคิดเห็นในเวทีวันนี้ จะมีความสำคัญต่อการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ตลอดจนการออกแบบทิศทางการดำเนินงานวิจัยที่สะท้อนความต้องการ และโจทย์การพัฒนาอย่างตรงจุดต่อไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

“THAICID” ร่วมกับ กรมชลประทาน เปิดเวที งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID-NWIKS 2024

นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 25...