วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

สกสว. เผยภาพรวมการจัดสรรงบกองทุนส่งเสริม ววน. ช่วยประเทศรับมือสถานการณ์โควิด

สกสว. เผยภาพรวมตัวอย่างงานวิจัยและนวัตกรรมจากการจัดสรรงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม องค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมฝีมือคนไทยที่สามารถช่วยประเทศในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด19 ในรอบปีที่ผ่านมา

รศ.ดร.ปัทมาวดี  โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยว่า ภาพรวมการจัดสรรงบประมาณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ปีงบประมาณ 2563 และ 2564 เริ่มเห็นผลชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นผลจากการจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่อง ตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในส่วนโปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศ ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ได้มีมติอนุมัติงบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. ปีประมาณ 2563 มากกว่า 1,000 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2564 กสว. อนุมัติงบประมาณกองทุนส่งเสริม ววน. กว่า 2,100 ล้านบาท ในการรับมือกับโควิด19 ก่อให้เกิดองค์ความรู้ในการรับมือกับภาวะวิกฤตอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถร่วมจัดการภาวะวิกฤตได้อย่างทันท่วงที โดยเน้นกรอบการทำงานในรูปแบบ “จตุรภาคี” (Quadruple Helix) คือการผสานพลังระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานเอกชนและประชาชนในพื้นที่ เกิดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายการทำงาน โดยที่ผ่านมากองทุนส่งเสริม ววน. มีกรอบการทำงานที่ครอบหลุมการแก้ปัญหา ทั้งในแง่ของการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ระบาดวิทยา การวิจัยทางสังคมศาสตร์ การวิจัยทางการแพทย์ และการประมาณผลกระทบทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยการตัดสินใจในการออกนโยบาย เป็นต้น



โดยมีตัวอย่างผลงานวิจัยและนวัตกรรม เช่น การพัฒนาชุดตรวจ SARS-CoV 2 ด้วยวิธี Real Time RT PCR โดยการจัดสรรงบประมาณผ่าน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ทำให้ประเทศไทยสามารถมีเทคโลโนยีเป็นของตัวเองในการตรวจเชื้อโควิด 19 จากน้ำลาย เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมาได้ส่งมอบชุดตรวจให้แก่รัฐบาล ดำเนินการส่งมอบไปยังโรงพยาบาลและห้องปฏิบัติการตรวจทั่วประเทศสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยมากกว่า 100,000 ชุด


นอกจากนี้ยังมี นวัตกรรมชุด PPE รับมือวิกฤติโควิด-19 โดยกรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้พัฒนาชุด PPE ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยทางการแพทย์ระดับ (Level) 2 ที่เป็นแบบป้องกันน้าจึงสามารถซักและใช้ซ้าได้ถึง 20 ครั้ง อีกทั้งได้พัฒนาต่อยอดเป็นชุด Level 3 ที่ป้องกันการซึมของน้าและใช้ซ้าได้ถึง 50 ครั้ง โดยนวัตกรรมนี้ผลิตเส้นด้ายด้วยการรีไซเคิลจากขวด PET100 โดยความร่วมมือของ 2 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 4 หน่วยงาน ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค และกับ 4องค์กรเอกชน ได้แก่ สมาพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอ สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย สภาอุตสาหกรรม และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ผลงานวิจัยนี้คาดว่าจะสามารถทดแทนที่ต้องสั่งนำเข้ากว่า 880,000 ชุด ทำให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

ตัวอย่างที่นำเสนอมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่ผ่านมายังได้นำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติ ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... นอกจากนี้ ยังมีผลผลิตจากกองทุนส่งเสริม ววน. อีกมากมาย ที่หน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม สถาบันศึกษา หน่วยงานวิจัย ตลอดจนประชาคมวิจัยและนวัตกรรม ทั่วประเทศร่วมกันขับเคลื่อนงานวิจัยที่ช่วยตอบโจทย์การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น