วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

พช.เชียงดาว เดินหน้า “เอามื้อสามัคคี”ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

 

ร่วมสร้างฐาน “คนหัวเห็ด” ส่งเสริมการเรียนรู้ และบูรณาการ สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู้วิกฤตการณ์โควิด-19


วันที่ 30 เมษายน 2564 นางพรทิพย์ สมโสภา พัฒนาการอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มอบหมายให้ นางเพ็ญศิริ หวันน้อย นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ  พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ฐานการเรียนรู้ "คนหัวเห็ด" ภายใต้โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง งบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการรวมกลุ่มของตัวแทนครัวเรือนพัฒนาในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 15 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแปลงของ นายพิทักษ์ หน่อคำ หมู่ที่ 6 บ้านสบคาบ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่


นางเพ็ญศิริ หวันน้อย เปิดเผยว่า “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงตระหนักอย่างดียิ่งในคุณค่าแห่งแนวพระราชดำริเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระองค์ทรงมุ่งมั่นยึดแนวพระราชดำรินี้เป็นแสงส่องนำทางความสุขที่ถาวร แก่แผ่นดินไทย ดังทรงพระราชทานโครงการ “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” โดยผสานแนวทางทฤษฎีใหม่และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นหนทางสร้างความดีงานในชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่สมดุล มั่นคง และยั่งยืน โดยตลอดมากรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลเป็นธรรม มีภูมิคุ้มกันในทุกครัวเรือน และปรับตัวให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีอาชีพ สร้างรายได้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของสังคม


สำหรับกิจกรรมการเอามื้อสามัคคี ในวันนี้ เป็นการพัฒนา สร้างความรู้ ความเข้าใจ วิถีแห่งความพอเพียง ให้ประชาชนเกิดการยอมรับและน้อมนำไปปฏิบัติ ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน นั้น คือ การสร้างพลังแห่งความสมานสามัคคี เอื้ออาทรให้เกิดขึ้นในชุมชน ท้องถิ่น และการเพิ่มทักษะการดำเนินชีวิตในรูปแบบการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำจริงทุกขั้นตอน โดยใช้กระบวนการ "ฐานคนหัวเห็ด" การเพาะเห็ดฟาง 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เพื่อจัดทำเป็นแปลงสาธิตภายในศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ รูปแบบ "โคก หนอง นา"  ประชาชนในหมู่บ้านสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ ซึ่งการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยเป็นวิธีที่ง่ายและได้รับความนิยมกันมาก เนื่องจากเป็นวิธีที่ ประหยัดวัสดุเพาะเห็ด ใช้ระยะเวลาเพาะสั้น จึงสามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล ปกติแล้วเกษตรกรจะเพาะในฤดูหลังนา เพราะมีฟางข้าว และตอซัง เป็นวัสดุเพาะ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าวัสดุที่เหลือใช้จากครัวเรือนและการเกษตร มาให้เกิดประโยชน์เป็นการเพิ่มแหล่งอาหารและเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย และ 2) การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ที่เป็นรูปแบบการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ใช้ตะกร้าพลาสติกเป็นโครงสร้างของกองวัสดุเพาะ เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ที่จำกัด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีแปลงไร่นา มีพื้นที่น้อย หรือผู้ที่อยู่ในชุมชนเมือง โดยผลงานความร่วมมือเพาะเห็ดฟางในรูปแบบที่ 2 นี้ จะมอบให้ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เป็นดังจุดเริ่มต้นเพื่อเป็นต้นแบบที่ดี สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู้กับวิกฤตการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ และขยายผลสู่ทุกครัวเรือนต่อไป”








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น