วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567

“THAICID” ร่วมกับ กรมชลประทาน เปิดเวที งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID-NWIKS 2024


นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 2567 (The THAICID Network Week for Integrated Knowledge Sharing 2024 : THAICID-NWIKS 2024) โดยมีคณะผู้บริหารกรมชลประทาน คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าร่วมงานดังกล่าว หอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี


นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน ประธานคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) เปิดเผยว่างานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 2567” ที่ 7 สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) กรมชลประทาน สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เครือข่ายสถาบันการศึกษา และหน่วยงานราชการและเอกชน โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการค้นคว้าพัฒนาเทคโนโลยีหรืองานวิจัยทางด้านการชลประทานและการระบายน้ำมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สังคมไทยสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคตโดยหัวใจหลักของงาน คือการเสริมสร้างระบบชลประทานแบบ SMART และมีส่วนร่วมเพื่อรองรับกระแสความไม่แน่นอนของโลกและความแปรปรวนรุนแรงของสภาพอากาศ (The Promotion of Smart and Participatory Irrigation Management for Coping with Global Uncertainty and Extreme Climate Variability) โดยคาดหวังว่า ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะนำมาซึ่งองค์ความรู้และแนวทางขับเคลื่อนงานชลประทานและการระบายน้ำให้สามารถเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยให้ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมที่เหมาะสม มีความเข้มแข็งของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นำไปสู่ปรับตัวให้เท่าทันกระแสความไม่แน่นอนของโลกและความแปรปรวนรุนแรงของสภาพอากาศ หมายรวมถึงสังคมความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วย

 


สำหรับกิจกรรมภายในงาน THAICID-NWIKS 2024 “มีการประชุมวิชาการระดับชาติ 17th THAICID National Symposium 2024 นำเสนอแนวการเสริมสร้างระบบชลประทานแบบ SMART และมีส่วนร่วมเพื่อรองรับกระแสความไม่แน่นอนของโลกและความแปรปรวนรุนแรงของสภาพอากาศ จากวิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งการเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ AWD Field Talk (Chapter5) เรื่องเล่าจากแปลงนา "ไปต่อ... นาเปียกสลับแห้ง เพิ่มรายได้ ลดโลกร้อน" ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการเสวนาวิชาการ Chapter 4 ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมดงตาล Software Days ภายใต้หัวข้อ"Digital Transformation for Adaptation on Climate change" นำเสนอผลงานความสำเร็จของการนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ จากวิทยากรที่มีประสบการณ์การใช้งานโดยตรง พร้อมด้วยการนำเสนอผลงานทางวิชาการ สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการเพิ่มความแม่นยำในการบริหารจัดการน้ำ อีกหนึ่งสีสันในงานยังสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย ดังนั้นจะเห็นว่า งาน THICID-NWIKS ล้วนเกิดจากการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายที่เข้มแข็งเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการพลิกโฉมการชลประทานเพื่อความยั่งยืนในอนาคต





วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

ครบ​ 17 ​ปี​ รางวัลประชาบดี​ รางวัลแห่งความดี ที่มอบให้บุคคลช่วยเหลือสังคม

 


ครบ​ 17 ​ปีรางวัลประชาบดีรางวัลแห่งความดี ที่มอบให้บุคคลช่วยเหลือสังคมผู้ด้อยโอกาส​-ผู้อยากไร้มีนักธุรกิจหญิง-อดีตตำรวจนำ้ดีได้รับรางวัลด้วย​ "คุณสายสม" ประธานกรรมการตัดสินให้กำลังใจคนที่ทำความทำดี จิตอาสาจงภูมิใจที่ได้ทำความดีช่วยเหลือผู้คน


         คุณสายสมวงศ์สาสุลักษณ์​  ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลประชาบดีเผยว่าปีนี้เป็นที่​17​ของรางวัลอันมีเกียรติและทรงคุณค่าที่คณะกรรมการพิจารณามอบรางวัลให้ผู้ทำคุณประโยชน์ดีเด่นผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากให้กับบุคคลที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากไร้ซึ่งทุกปีจะมีบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพจากทั่วประเทศได้รับการพิจารณาคัดสรรค์ จากคณะกรรมการพิจารณาและปีนี้ปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่​ 10​ ทรงพระชมน์พรรษาครบ​72 พรรษาในวันที่​28​..67นี้ด้วยจึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมกันทำความดีถวายพระองค์ท่านและในปีนี้มีผู้ได้รับรางวัลด้านนี้มี 12​ท่านด้วยกันซึ่งในจำนวนนี้มีนักธุรกิจหญิงคุณศุภลักษณ์อัมพุชนักธุรกิจหญิงที่ประสบความสำเร็จอย่างมากและมีอดีตนายตำรวจ ที่มีประวัติที่ดีและเป็นที่ยอมรับในวงการตำรวจคือ พล...วุฒิลิปตพัลลภอดีตรองฯผบ.ตร.แห่งชาติที่ช่วยเหลือสังคมและมีผลงานด้านปราบปรามยาเสพติดมากมายในอดีตได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติในครั้งนี้ด้วยซึ่งจะมีการมอบรางวัลในวันที่​ 21​ สิงหาฯนี้โดยรัฐมนตรีวราวุธศิลปอาชารมว.พม.เป็นผู้แทนพระองค์ฯมอบรางวัล​ 



          ผู้ได้รับรางวัลอีก​10​ ท่าน ประกอบด้วย ​1.พระอธิการแสนปราชญ์​ 2.นางกัลยาบางจั่น​ 3.นายชาญชัยศุภวีระกุล.​4.นายธีระวัฒน์พิทักษ์ไพรศรี​ 5.นางประภาศรี​  รัชตะปิติ​ 6.นางพนิดาเนื่องชมภู.7.นางเพ็ญศรีลูกแก้ว,  8.นายสมพงศ์ปานเพชร​ 9.นายสุรชัย​  เดชศิริอุดมและ10.นายสุรัตน์นุ่มอ่อน

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2566

กองทุนหมู่บ้านฯ ฟังทางนี้ ! “อนุชา” ชี้ช่องทางทำเงิน สร้างอาชีพ ให้พี่น้องสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ผ่านโครงการโคล้านครอบครัว

  


นาย อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชวนพี่น้องสมาชิกกองทุนหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ “โคล้านครอบครัว” ชี้เป็นหนทางช่วยประชาชนหลุดพ้นความยากจน และจะเป็นจุดพลิกผันให้เศรษฐกิจฐานรากฟื้นตัว เน้นย้ำชัดว่าที่ผ่านมาได้มีการทดลอง ศึกษา และค้นคว้า ลงมือทำจริง และมีผลสำเร็จเป็นรูปธรรม จึงพร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ โคล้านครอบครัว ผ่านกองทุนหมู่บ้าน ที่ ครม. ได้อนุมัติเห็นชอบดำเนินงานโครงการในวงเงินงบประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จำนวน 79,610 กองทุน มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถกู้ยืมเงินทุนสำหรับเลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ ครอบครัวไม่เกิน 50,000 บาท  จำนวน 100,000 ครัวเรือน (เลี้ยงโค ครัวเรือนละ 2 ตัว รวม 200,000 ตัว)


เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ ห้องประชุมวิโรจน์ อิ่มพิทักษ์ อาคารศูนย์เรียนรวม 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ได้จัดงานแถลงข่าวโครงการ “โคล้านครอบครัว” เพื่อประกาศความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่พร้อมเดินหน้าทำให้โครงการสู่ความสำเร็จให้เกษตรกรมีรายได้อย่างยั่งยืนมั่นคง โดยมีนักวิชาการมาร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อ “ชี้ช่องรวย ด้วยโครงการโคล้านครอบครัว” โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงโค ตั้งแต่ต้น-กลาง-ปลายน้ำ อาทิ รศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อาจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ธนพล หนองบัว รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมวิจัย เเละบริการวิชาการ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่งต่อความรู้เรื่องกระบวนการเลี้ยงโคอย่างมีคุณภาพ การเตรียมความพร้อมในการเลี้ยงเพื่อให้สามารถทำกำไรสูงสุด พร้อมกับรับฟังประสบการณ์จากประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดนครพนม นายธนูศร ปัญญาสาร และ คุณประสาท บุญญานันท์ เจ้าของบังอรฟาร์ม ประธานกลุ่มวิสาหกิจวากิวโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ตัวแทนเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงโค และ เชฟชุมพล แจ้งไพร ผู้แทนฝั่งภาคการค้า ที่มาร่วมชี้ให้เห็นช่องทางตลาดเพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงโคให้ได้มาตรฐาน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลกได้

"สมาชิกกองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมากของประเทศ และยังเป็นกลุ่มที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจหลักของประเทศ ผมได้เสนอแนวคิด "เงินบาทแรกของแผ่นดิน" ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่เกิดจากน้ำ จากดินที่อยู่ให้ภาคการเกษตร ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าได้ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรรม จากการศึกษา ค้นคว้า และทดลองเป็นระยะเวลานาน พบว่าการทำปศุสัตว์ เช่น การเลี้ยงโค จะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรทวีคูณ ผมจึงนำแนวคิดนี้มาทำโครงการช่วยเหลือประชาชน โดยผ่านการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) ผมค้นพบว่าการเลี้ยงวัวเลี้ยงไม่ยาก วัวกินแต่หญ้า เริ่มแรกสมาชิกจะได้รับการสนับสนุนวัว 2 ตัว เมื่อผ่านระยะเวลา 1 ปี จะได้ผลผลิตเพิ่มเป็น 4 ตัว และปีต่อๆ ไปจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นทวีคูณ จากการสนับสนุนเงินทุนตั้งต้น 50,000 บาทแรก ผมมั่นใจว่าไม่เกิน 3 ปี จะสามารถคืนเงินทุนได้ทั้งหมด และปีต่อๆ ไปถือเป็นกำไรให้พี่น้องประชาชน ภายใน 6 ปี ประชาชนจะสามารถจับเงินล้านได้ไม่ยาก ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นรายได้ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน และเป็นหนทางสู่ความร่ำรวยได้ในอนาคต" นายอนุชากล่าว

ในส่วนของเงื่อนไขสำหรับกองทุนหมู่บ้านฯ ผู้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้ นายเกียรติศักดิ์ ทองสุระวิโรจน์ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากองทุนหมู่บ้านและเสริมสร้างศักยภาพชุมชน สทบ. ได้กล่าวว่า ทางกองทุนหมู่บ้านเรายึดหลักการให้พี่น้องกองทุนบริหารจัดการกองทุนได้ภูมิปัญญาของด้วยตนเอง ต้องเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่มีความพร้อมทุกด้าน กองทุนมีมติเห็นชอบให้เข้าร่วมโครงการ สมาชิกต้องมีความประพฤติดี มีวินัยด้านการเงิน และมีความพร้อม มีความสนใจจะสร้างรายได้ สร้างอาชีพที่เลี้ยงครอบครัวได้จริง ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้ตามขั้นตอนผ่านกองทุนหมู่บ้านฯ โดยสมาชิกสามารถเลือกสายพันธุ์โคที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ หรือความพร้อมของตน ได้ด้วยตนเอง ทางหน่วยงาน สทบ. และกรรมการกองทุน พร้อมสนับสนุนให้ข้อมูลในการคัดเลือก ไม่ว่าจะเป็น ชนิดสายพันธุ์ น้ำหนัก ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่


กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โคล้านครอบครัว สามารถเตรียมความพร้อมและสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาขาเขต ทั้ง 13 สาขาเขต ในทุกภูมิภาค และศูนย์ประสานงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองประจำจังหวัด (ทุกจังหวัด)



วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565

เครือข่ายสหกรณ์โคนมกำแพงเพชรทำ MOU ซื้อมันเส้น โดยตรงจากสหกรณ์ผู้ปลูกมันสำปะหลังและผู้ประกอบการส่งออกหวังแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์หลังราคาขยับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

 




 นายอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับนายณรงค์ ขันติวิริยะกุล ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายสุวิทย์ สันตติวงศ์ไชย ปลัดจังหวัดกำแพงเพชรเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ซื้อ – ขายมันเส้นสะอาดระหว่างเครือข่ายสหกรณ์โคนมกับสหกรณ์ผู้ผลิตและรวบรวมมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชรและผู้ประกอบการส่งออก 



สำหรับสหกรณ์เครือข่ายโคนมเป็นสหกรณ์ในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ เชียงใหม่ และลำพูนรวม 8 แห่งได้แก่ สหกรณ์โคนมมวกเหล็ก จำกัด สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์กมิตรภาพ จำกัด สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์กพัฒนานิคม จำกัด สหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์กสวนมะเดื่อ จำกัด สหกรณ์โคนมพัฒนานิคม จำกัด สหกรณ์โคนมลำพูน จำกัด สหกรณ์โคนมผาตั้ง จำกัด และสหกรณ์โคนมเทพสถิต จำกัด ส่วนสหกรณ์ผู้ผลิตและรวบรวมมันสำปะหลังเป็นสหกรณ์ในจังหวัดกำแพงเพชรและผู้ประกอบการส่งออกมันสำปะหลังได้แก่ บริษัท ทาปิโอกา คอร์เปอเรชั่น จำกัด 



ทั้งนี้ตาม MOU สหกรณ์เครือข่ายโคนมจะรับซื้อมันเส้นสะอาด 17,040 ตัน มูลค่า 136.795 ล้านบาทไปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งปัจจุบันเกิดภาวะวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาดแคลนและราคาแพง ดังนั้นการซื้อ-ขายโดยตรงจากสหกรณ์ผู้ผลิตมันและรวบรวมมันสำปะหลัง รวมถึงผู้ประกอบการส่งออกจะทำให้เครือข่ายสหกรณ์โคนมจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้ตามต้องการอย่างเนื่องและราคาไม่ผันผวน ส่วนสหกรณ์ผู้ผลิตและรวบรวมมันสำปะหลังมีโอกาสขยายตลาด โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำจากธ.ก.ส. ซึ่งเป็นไปตามนโยบายพัฒนาศักยภาพสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์




วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565

มาเลเซียประกาศยกเลิกการแบนนำเข้าโค-กระบือจากไทย แล้วหลังไทยมีมาตรดารควบคุมโรคเข้ม มีผลส่งออกตามเงื่อนไขได้ทันที

 


นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าล่าสุด กรมสัตวแพทย์บริการ (The Veterinary Services Department (DVS)) ประเทศมาเลเซีย ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแจ้งยกเลิกการแบนนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทย ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2565 มีผลทันที โดยประเทศไทยสามารถส่งออกโค-กระบือ (ทั้งโค-กระบือขุนและพ่อแม่พันธุ์) ไปประเทศมาเลเซียตามเงื่อนไขและขั้นตอนการนำเข้าได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องต่อด้านปศุสัตว์และอุตสาหกรรมผู้เลี้ยงโค-กระบือ โดยการประกาศของทางมาเลเซียเนื่องจากเค้าเชื่อมั่นในระบบการควบคุมและป้องกันโรคของประเทศไทย


เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปีสกินในประเทศไทย เพื่อเป็นการป้องกันโรคและลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดต่ออุตสาหกรรมโค-กระบือของประเทศมาเลเซีย มาเลเซียจึงประกาศระงับการนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2564 นั้น ซึ่งล่าสุดมีข่าวดีมาแจ้งได้รับรายงานใน วันที่ 15 มีนาคม 2565 ว่ากรมสัตวแพทย์บริการ (DVS) ประเทศมาเลเซีย ได้ออกประกาศรายงานและมีหนังสือแจ้งกรมปศุสัตว์มาอย่างเป็นทางการแล้ว อนุญาตให้นำเข้าโค-กระบือ (ทั้งโค-กระบือขุนและพ่อแม่พันธุ์) จากประเทศไทยได้ โดยมีผลทันที เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีความเชื่อมั่นในระบบการป้องกันและควบคุมโรคลัมปีสกินในโค-กระบือของประเทศไทยว่ามีมาตรการในการดำเนินการที่ครอบคลุมมีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดควบคุมและป้องกันการเกิดโรคได้ มีมาตรการในการตรวจสอบกำกับและการควบคุมการเคลื่อนย้ายที่ชัดเจน 


อย่างไรก็ตาม DVS และกรมปศุสัตว์ ประเทศไทย ได้ทบทวนจัดทำและบรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการในการควบคุมโรคลัมปีสกินและขั้นตอนในการนำเข้า ซึ่งจะมีการปรับข้อกำหนดมาตรการและขั้นตอนการนำเข้าบางส่วนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบในการเกิดโรคจากการเคลื่อนย้ายโค-กระบือเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ซึ่งกรมปศุสัตว์ต้องมีการขึ้นทะเบียนทั้งผู้นำเข้า พ่อค้าคนกลาง และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ และต้องมีการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2559 และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญต้องกำกับดูแลให้ทั้งผู้นำเข้า พ่อค้าคนกลาง และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคลัมปีสกิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวกับการนำเข้าโค-กระบือสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้สัตว์ที่เป็นโรคเข้าไปสู่ประเทศมาเลเซียได้ ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อป้องกันและควบคุมโรคลัมปีสกินเท่านั้น ยังครอบคลุมถึงโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และโรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) ด้วย โดยจากข้อมูลกองสารวัตรและกักกันพบว่าตั้งแต่ปี 2561 - มิถุนายน 2564 มีปริมาณโค-กระบือที่นำเข้าไปมาเลเซียประมาณ 68,523 ตัว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทยมากขึ้นในช่วงเทศกาลฮารีรายอ ฮัจจิ (Hari Raya Haji) หรือเทศกาลแห่งการบูชายัญและขอให้เกษตรกรและผู้เลี้ยงโค-กระบือทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรค ต่อไปเพื่อป้องการการระบาดที่อาจเกิดขึ้นได้



ปศุสัตว์ยังเดินหน้าตรวจห้องเย็นรอบใหม่ต่อเนื่อง หวั่นกักตุนสินค้าปศุสัตว์สร้างปัญหากระทบค่อผู้บริโภค


นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยและให้ความสำคัญ ในกรณีที่อาจมีการกักตุนสินค้าประเภทเนื้อสุกรเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า โดยล่าสุดได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมเครือข่ายปฏิบัติงานเร่งตรวจสอบห้องเย็นต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรฯ พร้อมหน่วยงานเครือข่ายสนองนโยบาย ได้สนธิกำลังไล่ตรวจสอบห้องเย็นรอบใหม่ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ -16 มีนาคม 2565 สรุปผลการตรวจสอบและการดำเนินการตามกฎหมาย พรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 


โดยล่าสุดรายงานผลการตรวจสอบห้องเย็นประจำวันที่ 16 มีนาคม 2565 พื้นที่ที่เข้าตรวจสอบรอบใหม่จำนวน 15 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี มุกดาหาร ขอนแก่น นครปฐม กาญจนบุรี สงขลา ระยอง เชียงใหม่ ตรวจพบซากสุกรจำนวน 259,994.40 กิโลกรัม รวมจำนวนตรวจพบซากสุกรที่พบในห้องเย็นรอบใหม่รวมสะสมตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ – 16 มีนาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 16,627,851.27 กิโลกรัม จากห้องเย็นทั้งหมด 402 แห่ง (รอบแรกผลการตรวจสอบซากสุกรสะสมตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2565 พบซากสุกรจำนวน 25,378,161.810 กิโลกรัม)


สำหรับรายงานข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 10/2565) สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ประกาศราคาสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์ม ณ วันพระที่ 10 มีนาคม ที่กิโลกรัมละ 88-91 บาท สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ รายงานว่า ราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มปรับราคาขึ้นเล็กน้อย แม้ต้นทุนเลี้ยงสัตว์และค่าพลังงานน้ำมันเพิ่มขึ้น กระทบทั้งต้นทุนการผลิตและต้นทุนการขนส่ง ขณะที่ราคาจำหน่ายเนื้อสุกรและสุกรขุนหน้าฟาร์มยังคงถูกจับตา ปัจจัยที่ท้าทายภาคปศุสัตว์ไทยในสถานะการณ์สงครามที่เป็นปัญหาหนัก นอกเหนือจากปัญหาราคาน้ำมัน คือราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก สร้างปัจจัยบวกให้การค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบไร้การเข้ามาควบคุมราคา ทั้ง ๆ ที่ Corn CBOT เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 รอบส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2565 ราคาย่อตัวมาปิดที่ 722.1 เซนต์/บุชเชล (เทียบเท่า 9.380 บาทต่อกิโลกรัม ณ THB 32.9983/USD) ส่วนลูกสุกรน้ำหนัก 16 กิโลกรัมต่อตัว ราคาอยู่ที่ 2,700 บาท (บวก/ลบ 84) สรุปแนวโน้ม : คาดว่าราคาสุกรน่าจะยืนแข็ง


หากประชาชนพบความผิดปกติต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่สายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อดำเนินการต่อไป

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564

กรมการพัฒนาชุมชน จัดใหญ่ “Virtual Tour” อลังการสุดบนโลกออนไลน์ เที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 9 เส้นทางมรดกวัฒนธรรมวิถีไทย

สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบชะลอตัว จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประทศลดลงกว่าร้อยละ 90 รวมถึงแนวโน้มพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป 

กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ วิสาหกิจชุมชน จึงเตรียมจัดงานยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกออนไลน์ ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย กับการท่องเที่ยวบนโลกเสมือนจริงแบบ “Virtual Tour” ระหว่างวันที่ 11-19 กันยายน ศกนี้ พร้อมร่วมชมแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมเก่าแก่ของประเทศไทย และลุ้นรับรางวัลใหญ่ตลอดการเข้าร่วมชมงาน

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ วิสาหกิจชุมชน ได้เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี (9 เส้นทาง 9 ตำบลมรดกวัฒนธรรมท่องเที่ยววิถีไทย) ภายใต้แนวคิด “เปิดขุมทรัพย์ 9 เส้นทาง 9 ตำนาน มรดกวัฒนธรรมท่องเที่ยววิถีไทย” ในรูปแบบของการท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual Tour) ที่ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ทั้ง ชม ชิล ช้อป แชร์ รวมถึงยังได้สัมผัสถึงเสน่ห์ของวิถีชุมชนทั้ง 9 เส้นทางตำนานมรดกวัฒนธรรม

 “อาจเรียกว่า เป็นอีกรูปแบบการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิต New Normal ที่จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน ไปพร้อมๆ กับการสื่อสาร สร้างการรับรู้ และสัมผัสได้ถึงเสน่ห์ของชุมชน OTOP นวัตวิถี  ขณะเดียวกัน ยังทำให้เกิดความพร้อมของชุมชน ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามชีวิตวิถีใหม่ และก่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ที่จะทำให้เกิดการ เกิดการจ้างงาน และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ตลอดจน เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท่องเที่ยวดาวเด่น  (Attractive : A) และชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีประเภทชุมชนท่องเที่ยวดาวรุ่ง (Brighten Star: B) จำนวน 304 หมู่บ้าน ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ที่เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ให้มีความมั่นคงมากขึ้น”

สำหรับความโดดเด่นของโครงการนี้ อยู่ที่การนำเอาวัฒนธรรมทั้ง 9 อารยธรรมบนผืนแผ่นดิน มาสร้างอัตลักษณ์ให้กับการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งได้แก่ อารยธรรมบ้านเชียง, อารยธรรมทวารวดี,  อารยธรรมศรีโคตรบูรณ์-ล้านช้าง, อารยธรรมลพบุรี, อารยธรรมศรีวิชัย, อารยธรรมล้านนา, อารยธรรมสุโขทัย, อารยธรรมอยุธยา, และ อารยุธรรมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่ละอารยธรรม ต่างมีความโดดเด่นด้านวิถีชีวิต ตามภูมิภาคและ กาลเวลา รวมถึงยังปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมและการสืบสานวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง จนส่วนหนึ่งได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ทรงคุณค่ากว่า 158,963  ผลิตภัณฑ์ ในปัจจุบัน


ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ สามารถร่วมท่องเที่ยวได้ที่ www.virtualotoptour.com ระหว่างวันที่ 11-19 กันยายน 2564 ตั้งแต่ 09.00-21.00 น. ซึ่งนอกจากจะได้เพลิดเพลินกับการเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP ทั้ง 9 เส้นทางแล้ว ผู้เข้าชมยังมีสิทธิ์ลุ้นรับ “สร้อยคอทองคำ” จำนวน 3 เส้นต่อวัน และลุ้นรับรางวัลใหญ่ “ทองคำแท่งหนัก 1 บาท” อีกด้วย


ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

 9 เส้นทาง 9 ตำบลมรดกวัฒนธรรมท่องเที่ยววิถีไทย ทั้ง 9 อารยธรรม มีดังนี้ 

1.อารยธรรมบ้านเชียง ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี และ จังหวัดหนองบัวลำภู 

2.อารยธรรมทวารวดี ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดยโสธร และจังหวัดมหาสารคาม 

3.อารยธรรมศรีโคตรบูรณ-ล้านช้าง ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครพนม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และ จังหวัดบึงกาฬ 

4.อารยธรรมลพบุรี  ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครราชสีม จังหวัดสุรินรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และ จังหวัดศรีสะเกษ 

5.อารยธรรมศรีวิชัย ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส 

6.อารยธรรมล้านนา ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และ จังหวัดตาก

7.อารยธรรมสุโขทัย ประกอบด้วย จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิจิตร และ จังหวัดอุทัยธานี 

8.อารยธรรมอยุธยา ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสมุทรสงคราม และ จังหวัดสมุทรสาคร 

9.อารยธรรมธนบุรี - รัตนโกสินทร์  ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดอ่างทอง 





“THAICID” ร่วมกับ กรมชลประทาน เปิดเวที งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID-NWIKS 2024

นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 25...