วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564

กรมการพัฒนาชุมชน จัดใหญ่ “Virtual Tour” อลังการสุดบนโลกออนไลน์ เที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 9 เส้นทางมรดกวัฒนธรรมวิถีไทย

สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยทั้งระบบชะลอตัว จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประทศลดลงกว่าร้อยละ 90 รวมถึงแนวโน้มพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป 

กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ วิสาหกิจชุมชน จึงเตรียมจัดงานยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกออนไลน์ ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย กับการท่องเที่ยวบนโลกเสมือนจริงแบบ “Virtual Tour” ระหว่างวันที่ 11-19 กันยายน ศกนี้ พร้อมร่วมชมแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมเก่าแก่ของประเทศไทย และลุ้นรับรางวัลใหญ่ตลอดการเข้าร่วมชมงาน

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ วิสาหกิจชุมชน ได้เล็งเห็นถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี (9 เส้นทาง 9 ตำบลมรดกวัฒนธรรมท่องเที่ยววิถีไทย) ภายใต้แนวคิด “เปิดขุมทรัพย์ 9 เส้นทาง 9 ตำนาน มรดกวัฒนธรรมท่องเที่ยววิถีไทย” ในรูปแบบของการท่องเที่ยวเสมือนจริง (Virtual Tour) ที่ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ทั้ง ชม ชิล ช้อป แชร์ รวมถึงยังได้สัมผัสถึงเสน่ห์ของวิถีชุมชนทั้ง 9 เส้นทางตำนานมรดกวัฒนธรรม

 “อาจเรียกว่า เป็นอีกรูปแบบการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิต New Normal ที่จะช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน ไปพร้อมๆ กับการสื่อสาร สร้างการรับรู้ และสัมผัสได้ถึงเสน่ห์ของชุมชน OTOP นวัตวิถี  ขณะเดียวกัน ยังทำให้เกิดความพร้อมของชุมชน ในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามชีวิตวิถีใหม่ และก่อให้เกิดการจับคู่ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ที่จะทำให้เกิดการ เกิดการจ้างงาน และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ตลอดจน เป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท่องเที่ยวดาวเด่น  (Attractive : A) และชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีประเภทชุมชนท่องเที่ยวดาวรุ่ง (Brighten Star: B) จำนวน 304 หมู่บ้าน ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ที่เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ให้มีความมั่นคงมากขึ้น”

สำหรับความโดดเด่นของโครงการนี้ อยู่ที่การนำเอาวัฒนธรรมทั้ง 9 อารยธรรมบนผืนแผ่นดิน มาสร้างอัตลักษณ์ให้กับการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งได้แก่ อารยธรรมบ้านเชียง, อารยธรรมทวารวดี,  อารยธรรมศรีโคตรบูรณ์-ล้านช้าง, อารยธรรมลพบุรี, อารยธรรมศรีวิชัย, อารยธรรมล้านนา, อารยธรรมสุโขทัย, อารยธรรมอยุธยา, และ อารยุธรรมธนบุรี-รัตนโกสินทร์ ซึ่งแต่ละอารยธรรม ต่างมีความโดดเด่นด้านวิถีชีวิต ตามภูมิภาคและ กาลเวลา รวมถึงยังปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมและการสืบสานวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่อง จนส่วนหนึ่งได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ทรงคุณค่ากว่า 158,963  ผลิตภัณฑ์ ในปัจจุบัน


ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ สามารถร่วมท่องเที่ยวได้ที่ www.virtualotoptour.com ระหว่างวันที่ 11-19 กันยายน 2564 ตั้งแต่ 09.00-21.00 น. ซึ่งนอกจากจะได้เพลิดเพลินกับการเที่ยวชุมชนท่องเที่ยว OTOP ทั้ง 9 เส้นทางแล้ว ผู้เข้าชมยังมีสิทธิ์ลุ้นรับ “สร้อยคอทองคำ” จำนวน 3 เส้นต่อวัน และลุ้นรับรางวัลใหญ่ “ทองคำแท่งหนัก 1 บาท” อีกด้วย


ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

 9 เส้นทาง 9 ตำบลมรดกวัฒนธรรมท่องเที่ยววิถีไทย ทั้ง 9 อารยธรรม มีดังนี้ 

1.อารยธรรมบ้านเชียง ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี และ จังหวัดหนองบัวลำภู 

2.อารยธรรมทวารวดี ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดยโสธร และจังหวัดมหาสารคาม 

3.อารยธรรมศรีโคตรบูรณ-ล้านช้าง ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครพนม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสกลนคร จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และ จังหวัดบึงกาฬ 

4.อารยธรรมลพบุรี  ประกอบด้วย จังหวัดลพบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดนครราชสีม จังหวัดสุรินรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ และ จังหวัดศรีสะเกษ 

5.อารยธรรมศรีวิชัย ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดระนอง จังหวัดสตูล จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส 

6.อารยธรรมล้านนา ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และ จังหวัดตาก

7.อารยธรรมสุโขทัย ประกอบด้วย จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดพิจิตร และ จังหวัดอุทัยธานี 

8.อารยธรรมอยุธยา ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดสมุทรสงคราม และ จังหวัดสมุทรสาคร 

9.อารยธรรมธนบุรี - รัตนโกสินทร์  ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดอ่างทอง 





วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564

สกสว. จับมือพันธมิตร เร่งพัฒนายุทธศาสตร์ ววน. ด้านการต่างประเทศ นำร่อง 4 ประเทศสำคัญ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร

7 กันยายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุมระดมความเห็น “ยุทธศาสตร์การกำหนดเป้าหมายการทำความร่วมมือด้าน ววน. กับต่างประเทศ”  ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการศึกษาสถานการณ์ภาพรวมด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทย รวมทั้งการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศของประเทศไทย โดยการจัดงานวันนี้เป็นการรับฟังข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนา (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ การทำความร่วมมือด้าน ววน. ระหว่างไทย กับ 4 ประเทศเป้าหมาย คือ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี   สหราชอาณาจักร

รองศาสตราจารย์ ดร. พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สกสว. เปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบัน สกสว. ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ออกแบบแนวทางในการสร้างความร่วมมือด้าน ววน. กับประเทศต่างๆ 3 ส่วนหลักด้วยกัน คือ 1. การจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือ ววน. กับต่างประเทศ หรือ White Paper ที่มีการระดมสมองกันวันนี้ เพื่อศึกษายุทธศาสตร์ ววน. ของไทยและประเทศเป้าหมาย โดยวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง รวมถึงเป้าหมายร่วมของไทยกับแต่ละประเทศ ทั้งจีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร 2. การให้ทุนสนับสนุน ววน. ในรูปแบบเครือข่ายระหว่างประเทศ ผ่านแผนงาน Global Partnership Fund เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงานระหว่างประเทศ โดยเน้นด้านที่เป็นเป้าหมายสำคัญของไทย 3. การเจรจาความร่วมมือกับประเทศเป้าหมาย ในรูปแบบ G to G  (Government to Government)  หรือ ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน โดยอาศัยความร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัคราชทูตวิทยาศาสตร์ไทย ประจำประเทศต่างๆ ตลอดจนเครือข่ายวิเทศสัมพันธ์ของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) 

โดยในส่วนของโครงการ Global Partnership Fund ถือเป็นโครงการสำคัญที่มุ่งเน้นการองค์ความรู้ การพัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายความร่วมมือระดับนานาชาติ ภายใต้ 3 วัตถุประสงค์หลักคือ 1. โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Global Partnership for Competitiveness) 2. โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อสร้างความเป็นเลิศของระบบอุดมศึกษาไทยในระดับโลก (Global Partnership for Research Excellence) และ 3. โครงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืน (Global Partnership for Environment and Societal Sustainable Development) โดยในปีงบประมาณ 2563 ภายใต้โครงการนี้ ส่งผลให้ประเทศไทยเกิดความร่วมมือด้านงานวิจัยและนวัตกรรม กับสถาบันต่างประเทศทั้งหมด 249 แห่ง กว่า 26 ประเทศ

ต่อมาในที่ประชุมได้มีการระดมความเห็นต่อ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การกำหนดเป้าหมายการทำความร่วมมือด้าน ววน. กับต่างประเทศ ต่อประเทศเป้าหมาย คือ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร  ทั้งในประเด็นที่ควรส่งเสริมความร่วมมือ ความสอดคล้องกับแผนและนโยบาย ววน. ของไทย ตลอดจนรูปแบบความร่วมมือ อย่างในกรณีของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่ลงทุนกับการวิจัยและนวัตกรรมอันดับที่ 8 ของโลกและตั้งเป้าว่าในปี 2025 จะลงทุนกับด้าน ววน. เพิ่มเป็น 3.5 % ของ GDP 

โดย ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน  กรรมการกำกับทิศทางโครงการ Global Partnership ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ข้อมูลที่ สกสว. นำเสนอวันนี้ ถือเป็นข้อมูลที่ดีและต้องมีการนำข้อมูลเหล่านี้ไปสร้างการปฏิบัติอย่างจริงจัง อาจเริ่มที่ประเด็นเรื่องของการจัดการขยะ (Waste Management) เนื่องจากเยอรมันมีความเชี่ยวชาญมาก และ สกสว. จะต้องผลักดันการทำงาน

โดยอาจเจรจากับรัฐบาลหรือหน่วยงานให้ทุนของเยอรมัน จัดการเป็นโครงการร่วมทุนขนาดใหญ่ (Joint Funding) ที่มีการลงทุนฝ่ายละ 50% อย่างต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกัน เพื่อให้ไทยมีนวัตกรรมการจัดการของเสีย (Waste Management) แบบเยอรมนี เป็นต้น นอกจากนี้ เราจะเห็นบทบาทของสถาบันมักซ์พลังค์ (Max Planck Institute) ของเยอรมนี ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) และเป็นแหล่งโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรม (Infrastructure) ที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มี จึงน่าศึกษาเรียนรู้ เป็นต้น นอกจากนี้  

รองศาสตราจารย์ ดร. ปัทมาวดี  โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า นอกจากจะมีการศึกษาสถานการณ์การส่งเสริมระบบ ววน. ของแต่ละประเทศในปัจจุบันแล้ว ควรวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor) ในการบริหารจัดการระบบ ววน. ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการทำงานครั้งนี้คือการรู้เขา รู้เรา ทั้งในภาพลึกของแต่ละประเทศ และในภาพกว้าง ซึ่งหมายถึง การมองเห็นภาพความร่วมมือด้าน ววน. ของแต่ละหน่วยงานในประเทศไทย เพื่อที่จะสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด

อย่างไรก็ตาม จากการประชุมระดมสมองในวันนี้ สกสว. จะนำข้อเสนอแนะเพิ่มเติม จากผู้ทรงคุณวุฒิมาพัฒนาต่อ เพื่อให้ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การกำหนดเป้าหมายการทำความร่วมมือด้าน ววน. กับต่างประเทศฉบับนี้ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเสนอแนะแนวทางสร้างความร่วมมือกับประเทศเป้าหมายต่อไป

อพวช. ร่วมกับ สมาคมวิทย์ ฯ จัดพิธีปิดและประกาศผล “การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน” The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) รูปแบบออนไลน์

5 กันยายน 2564 / องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีปิดและประกาศผล “การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน” The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) รูปแบบออนไลน์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีปิดฯ พร้อมด้วย ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และ ศ.ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมในพิธีปิดฯ ดังกล่าว ซึ่งมีเยาวชนจาก 5 ประเทศอาเซียนเข้าร่วม ได้แก่ ไทย มาเลเซีย กัมพูชา อินโดนีเซีย และสิงคโปร์


ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานในพิธีปิดฯ กล่าวว่า “การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) ครั้งนี้ได้ดำเนินมาถึงวันสุดท้ายของการแข่งขันฯ กระทรวง อว. รู้สึกชื่นชมที่ทาง อพวช. และสมาคมวิทย์ฯ เจ้าภาพหลักของการจัดการแข่งขันฯ ในครั้งนี้ เปิดโอกาสให้เยาวชนในกลุ่มประเทศอาเซียนได้มีเวทีการประกวดโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ นอกจากจะเป็นการสนับสนุนให้เยาวชนพัฒนาทักษะและความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังช่วยสร้างเครือข่ายของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อสนองความใฝ่รู้และความสามารถของพวกเขาในด้านวิทยาศาสตร์ให้มากยิ่งขึ้น โดยขอชื่นชมเยาวชนที่เข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ ทั้งผู้ที่ได้รับรางวัลหรือไม่ได้รางวัล ถือว่าเป็นเยาวชนคนเก่ง และขอให้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และความพยายามในครั้งนี้ นำผลงานไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาประเทศชาติต่อไปได้” 


ด้าน ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “สำหรับกิจกรรมการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 -5 กันยายน 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของเยาวชนและการแบ่งปันประสบการณ์ และการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเยาวชนที่ได้เข้าร่วมในครั้งนี้ ได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง ได้นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ และได้ร่วมพูดคุยและแสดงความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญ โดย อพวช. ขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของเยาวชนทุกคน ซึ่งเวทีนี้ถือเป็นโอกาสที่เยาวชนจะสามารถพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ และได้นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนต่อไป”


ศ.ดร. ศุภวรรณ ตันตยานนท์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า “สมาคมวิทย์ฯ รู้สึกยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดการแข่งขันโครงงานวิทย์ฯ ระดับอาเซียนในครั้งนี้ ขอแสดงความยินดีแก่เยาวชนทุกท่าน การเข้าร่วมกิจกรรมนี้คือการได้รับประสบการณ์ที่ดีและมีค่าสำหรับเยาวชนทุกคน และขอแสดงชื่นชมเยาวชนทุกทีม ทั้งเยาวชนไทย และกลุ่มอาเซียน ที่ได้รับรางวัลไปในครั้งนี้ และขอให้เยาวชนทุกคนได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้จากการประกวดในครั้งนี้ โดยหวังว่าโครงงานที่เยาวชนได้พัฒนาขึ้นจะถูกต่อยอดและถูกนำมาใช้งานจริงเพื่อพัฒนาประเทศและอาเซียนของเราต่อไปในอนาคต”

สำหรับผลรางวัล “การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซียน” The 7th ASEAN Student Science Project Competition (ASPC 2021) มีดังนี้






เยาวชนไทยเก่งคว้า 5 รางวัล จากเวที “การประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2564” (International Science Drama Competition 2021)

องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่งตัวแทนเยาวชนจากประเทศไทยเข้าร่วม “การประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2564” (International Science Drama Competition 2021) ซึ่งเยาวชนไทยสามารถคว้ารางวัลมาได้ถึง 5 รางวัล สำหรับโดยตัวแทนเยาวชนในครั้งนี้ คือทีมเยาวชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 – 3   จากการประกวดโครงการการแสดงละครวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ “การเกษตรแบบยั่งยืนเพื่ออนาคตที่ดีกว่า” (Sustainable Agriculture for a Better Future) ที่ อพวช. จัดขึ้น เพื่อเปิดโอกาส     ให้เยาวชนได้แสดงออกถึงความสามารถด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผ่านการแสดงละคร และกระตุ้น          ให้เยาวชนนำวิทยาศาสตร์ (Science) และศิลปะ (Art) ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์ผลงานการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของละครวิทยาศาสตร์ รวมทั้ง สร้างประสบการณ์ให้เยาวชนไทยได้แสดงผลงานใน   เวทีระดับนานาชาติ


โดยผลปรากฏว่า เยาวชนไทยได้รับรางวัลจาก “การประกวดการแสดงละครวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ ประจำปี 2564” (International Science Drama Competition 2021) ทั้งหมด 5 รางวัล ได้แก่


1. ละครวิทยาศาสตร์นานาชาติ 

ประเภท Junior Catergory

รางวัลที่ 1 ได้แก่ ทีม Wonderkids ประเทศไทย

จากโรงเรียน Bromsgrove International School Thailand, Garden International Bangkok, Shrewsbury International School Bangkok Riverside, Amnuaysilpa School 


2. รางวัลนักแสดงยอดเยี่ยม Outstanding Performer Award

ประเภท Junior Category

ได้แก่ เด็กหญิงนารานิชานัฐ นาคะนิธิ โรงเรียน Bromsgrove International School Thailand

จากทีม Wonderkids ประเทศไทย 


3. ประเภท Short Film Category

รางวัลที่ 2 “Sustainable Agriculture”

จากทีม NACA ประเทศไทย 

โดยมีสมาชิกในทีม ได้แก่ 

1.นายนคบดี นาคสกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

2.นางสาวปญปภา นาคสกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

3.นางศศิวดี นาคสกุล ที่ปรึกษา


4. ประเภท Short Film Category

รางวัลที่ 3 “Sustainable Agriculture” 

จากทีม Wettawan Wittaya School 

โดยมีสมาชิกในทีม ได้แก่ 

1.นายสมาน  วิโรจน์อุไรเรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนเวตวันวิทยา

2.นางดาราวรรณ  แก้วศรีทอง รองผู้อำนวยการโรงเรียนเวตวันวิทยา

3.นายจำนงค์  โสภารัตน์  ครูโรงเรียนเวตวันวิทยา

4.นายรักศักดิ์ ปริหา ครูโรงเรียนเวตวันวิทยา

5.เด็กหญิงกชพร  อุรโสภณ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเวตวันวิทยา

6.เด็กหญิงอชิรญา  ดำริห์  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเวตวันวิทยา

7.เด็กหญิงวิปัสนา  ผลานันต์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเวตวันวิทยา

8.เด็กหญิงวิมุตติยา  ผลานันต์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเวตวันวิทยา

9.เด็กหญิงสุมลธิญา ดำริห์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองแสง

10.นายพงษ์สันต์ ประโยชย์อมรกุล วิทยากร

11.นายวันชัย  ทองมนต์ วิทยากร

12.นายวีระชัย กงซุย วิทยากร


5. ประเภท Popularity Award Short Film Catergory

เรื่อง Sustainable Agriculture

จากทีม NACA ประเทศไทย 

โดยมีสมาชิกทีม ได้แก่ 

1. นายนคบดี นาคสกุล  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

2. นางสาวปญปภา นาคสกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย

3. นางศศิวดี นาคสกุล ที่ปรึกษา





TIPH เข้าซื้อขายวันแรก ชูจุดแข็งโครงสร้างธุรกิจ และผู้ถือหุ้นสุดแกร่ง

บมจ. ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ TIPH  ฤกษ์ดีเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในวันนี้ (7 ก.ย. 2564) เป็นวันแรก แทนหุ้น บมจ. ทิพยประกันภัย หรือ “TIP” ซึ่งปรับไปเป็นบริษัทลูกที่เป็นแกนกลางของกลุ่มธุรกิจประกันภัยภายใต้ TIPH ด้าน “สมพร สืบถวิลกุล” ระบุโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ และแผนการดำเนินธุรกิจของ TIPH ถูกกำหนดขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจประกันภัย หลังการเกิดขึ้นของวิกฤตโควิด-19 จากนี้เตรียมเดินหน้าพัฒนาระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในทุกมิติ พร้อมยืนยันโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งจะช่วยสนับสนุนความสามารถทางการแข่งขัน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจของทิพย กรุ๊ปได้

ดร. สมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TIPH ยืนยันว่าภายใต้โครงสร้างกลุ่มธุรกิจของ TIPH ธุรกิจหลักยังคงเป็นธุรกิจประกันภัย ที่บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญ และประสบความสำเร็จมาอย่างยาวนาน ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 75% ของทรัพย์สินรวมของกลุ่มบริษัท โดยมีบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ TIP เป็นบริษัทที่เป็นแกนกลางของกลุ่มภายใต้ TIPH โดยที่โครงสร้างธุรกิจประกันภัยของTIPH จะมีการแบ่งแยกและจำกัดความเสี่ยงของแต่ละสายธุรกิจอย่างชัดเจน ประกอบด้วย ธุรกิจประกันวินาศภัยในประเทศไทย (Non-Life Insurance) ธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย (Life Assurance) ธุรกิจประกันภัยในต่างประเทศ(International Insurance) และธุรกิจที่สนับสนุนธุรกิจประกันภัย (Insurance Supporting) ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือกลุ่มประกันภัย อาจจะขยายการลงทุนไปในอนาคตในสัดส่วนไม่เกิน 25% ของทรัพย์สินรวมของกลุ่มบริษัท แต่ต้องเป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจหลัก และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มธุรกิจของ TIPH ด้วย

“บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าการจัดโครงสร้างกลุ่มธุรกิจดังกล่าว นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการจัดการองค์กรให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจในแต่ละประเภทธุรกิจแล้ว จะช่วยให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ที่เกิดจากการพัฒนากลุ่มธุรกิจให้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน (Specialization) อย่างแท้จริง รวมทั้งจะส่งผลให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) จากการจัดตั้งหน่วยธุรกิจที่ให้การสนับสนุนกับบริษัทในเครือ (Shared Services) ขึ้นมา โดยเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากหน่วยงานสนับสนุนธุรกิจที่ถือว่าเป็นจุดแข็งที่เป็นข้อได้เปรียบ (Unique Competencies) ของ TIP อยู่แล้ว เช่น การให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศการให้บริการสรรหาและพัฒนาบุคลากร หน่วยงานวิจัยและพัฒนา เป็นต้น” ดร.สมพร กล่าว

โดยที่กลยุทธ์หลักในการขยายธุรกิจของ TIPH จะอยู่บนเป้าหมายของการสร้างนวัตกรรมใหม่ (Innovation) ในแต่ละกลุ่มธุรกิจประกันภัยของบริษัทฯ เพื่อทำเกิดการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) และการเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainable Growth) ควบคู่กันไป โดยมุ่งเน้นการขยายการลงทุนในธุรกิจประกันภัยและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ผ่านการสร้างพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Alliance) การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) และการควบรวมและการเข้าซื้อกิจการ (Mergers and Acquisitions) รวมทั้งผ่านการแยกหน่วยธุรกิจของบริษัทในกลุ่มที่มีศักยภาพออกเป็นบริษัทใหม่ (Spin-Off) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่มธุรกิจของ TIPH

สำหรับแผนการขยายธุรกิจใน 12 เดือนข้างหน้า บริษัทฯ มีแผนการดำเนินการชัดเจนแล้วตามที่ได้แจ้งกับผู้ถือหุ้นไประหว่างช่วงเวลาการทำ Tender Offer ที่ผ่านมา โดยปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการจัดตั้งหรือเข้าซื้อกิจการที่ประกอบธุรกิจสนับสนุนธุรกิจประกันภัย 2-3 ธุรกิจ รวมทั้งการศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งบริษัทประกันภัยใหม่ หรือการเข้าซื้อกิจการที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อรองรับการแยกหน่วยธุรกิจที่มีศักยภาพของบริษัทในกลุ่มออกเป็นบริษัทใหม่ (Spin-Off) อีกอย่างน้อย 1 ธุรกิจด้วย

“ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าภายใต้โครงสร้างกลุ่มธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจประกันภัย และโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่ง โดยที่ปัจจุบัน บมจ.ปตท. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ จะทำให้ TIPH สามารถเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจประกันภัยไปสู่มิติใหม่ ที่สามารถสร้างประโยชน์สูงสุดของประชาชนในฐานะผู้เอาประกันภัยและสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้แก่ผู้ถือหุ้นในอนาคตได้” ดร.สมพร กล่าว

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2564

💚ท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว Green Stay ที่โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย☘️

โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย เชิญท่องเที่ยวหัวใจสีเขียว ด้วยโปรโมชั่น​ Green Stay Creative-Economy ด้วยห้องพักหรูหราล้านนาทันสมัย สัมผัสกับธรรมชาติอันบริสุทธิ์​อย่างใกล้ชิดที่โอบล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ ตกแต่งด้วยดอกไม้นานาชนิด ให้ความรู้สึกสดชื่น พร้อมรับประทานอาหาร จากผักสวนครัว ปลอดสาร เพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในการส่งเสริมและปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างวัฒนธรรมและจิตสำนึกที่ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม​ อย่างสวยงามลงตัว

โปรโมชั่นห้องพัก

🛏 Executive Deluxe Room

ราคาเพียง 999 บาทสุทธิ (สำหรับ 2 ท่าน) พร้อมอาหารเช้าแบบ Street Food

🛏 Executive Suite Room

ราคาเพียง 1,300.- บาทสุทธิ (สำหรับ 2 ท่าน) พร้อมอาหารเช้า

สามารถ Check in ได้ก่อน 14.00 น. และ สามารถ Check out ได้หลัง 12.00 โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

📝 จอง : วันนี้ – 31 ต.ค 2564

🗓 เข้าพัก : วันนี้ – 31 มี.ค 2565

✅ สำรองห้องพักล่วงหน้า​ 

สอบถามเพิ่มเติมหรือสำรองห้องพักได้ที่ :

☎️ โทร. 052 055 888

📲 Line ID: theheritagechiangrai

📬 Inbox Facebook: m.me/TheHeritageChiangRai

📩 reservation@heritagechiangrai.com

www.heritagechiangrai.com

สสว. จับมือ 11 กลุ่มคลัสเตอร์ผู้ประกอบการฝ่าวิกฤตโควิด-19 หวังสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน

 

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เดินหน้าโครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์ SME ปี 2564 จับมือกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ประกอบการ 11 กลุ่มคลัสเตอร์ สมาชิกรวม 4,347 ราย เดินหน้าฝ่าวิกฤตโควิด-19 หวังสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน แม้อยู่ในช่วงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยร่วมกับหน่วยร่วมดำเนินงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันอาหาร และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนาออนไลน์หัวข้อ “การเชื่อมโยงคลัสเตอร์ในแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 10.00 – 12.00 น. บนแอพพลิเคชั่นเฟสบุ๊ค OSMEP : www.facebook.com/osmep โดย                     ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร. วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมแถลงเกี่ยวกับการดำเนินงานและความสำเร็จโครงการสนับสนุนและพัฒนาคลัสเตอร์ SME ปี 2564 

นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนายังได้รับฟังการบรรยายพิเศษหัวข้อ “การเชื่อมโยงคลัสเตอร์ ในแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย ดร. พิเศษพร วศวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัย มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมแชร์ประสบการณ์การพัฒนาคลัสเตอร์หรือกลุ่มเครือข่าย SME ในการเสวนาหัวข้อ “แนวปฏิบัติในการเชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ในยุคโควิด-19 ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี” โดยตัวแทนจากกลุ่มคลัสเตอร์ที่เข้าร่วมโครงการและผู้ให้บริการ (Service Provider) หวังเป็นต้นแบบของแนวทางการพัฒนาและก้าวข้ามผ่านความท้าทายในการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งและยั่งยืนท่ามกลางวิฤตการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน 

999 ก้าว ไป ต่อ Move On Fighters

 

Food For Fighters  ขอเชิญร่วมเรียนรู้การทำอาหารแบบมืออาชีพกับเชฟระดับมาสเตอร์ ในวันที่ 19-27 กันยายน  2564 เวลา 9.00 - 15.00 น. (มีวัตถุดิบและอุปกรณ์เตรียมให้) ณ บริษัท เซเว่นไฟว์ ดิสทริบิวเตอร์ จำกัด ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี  11130

ภายในกิจกรรมจะเข้าเรียนทำอาหารกับเชฟระดับมืออาชีพ พร้อมวิทยากรจากสถาบันอาหารที่จะมาร่วมบรรยาย เสริมสร้างแนวคิดการจัดการขยะ,การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม,การถนอมอาหารฯ

***เมื่อจบการอบรมแล้วจะเข้ารับใบประกาศนียบัตร จาก Food For Fighters  และเชฟผู้สอน

รับสมัครแล้ววันนี้ ได้ทาง

Line ID : @ moveonfighters 

สแกน QR Code

หรือโทร : 083-092-2078

เปิดตัว"ผลิตภัณฑ์วัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์ จ.ปทุมธานี" ตอบโจทย์เทรนสินค้าไลฟ์สไตล์


เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 ณ ศูนย์การค้าเดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ จังหวัดปทุมธานี มีการจัดงาน"ผลิตภัณฑ์วัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์ จังหวัดปทุมธานี (Roadshow) ภายใต้โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม เกษตร และธุรกิจบริการ กิจกรรมสร้างสินค้าต้นแบบด้วยนวัตกรรม


  โดยมีนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้ร่วมงาน นางรวีพรรณ ช้างเย็นฉ่ำ พาณิชย์จังหวัดปทุมธานี ,ดร.เรืองลดา ปุณยลิขิต กรรมการผู้จัดการบริษัท พริส คอนซัลติ้ง จำกัด, อาจารย์ประจำหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักออกแบบ สถาปนิก ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยนวัตกรรม


การจัดงานครั้งนี้เพื่อส่งเสริมมูลค่าเพิ่ม พัฒนาและสร้างสรรผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากสินค้าเกษตรด้วยนวตกรรม เทคโนโลยี หรือ การออกแบบ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเชิงธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ผลิต ผู้ซื้อ ผู้บริโภค วิสาหกิจชุมชน และนักออกแบบ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจังหวัดปทุมธานีสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ และส่งเสริมเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ได้รับการพัฒนเข้าสู่ตลาดสากล



งานนิทรรศการเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบเชิงพาณิชย์ ภายในงานมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากวัสดุและสินค้าจากเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสตอบโจทย์เทรนสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีความหลากหลาย ทั้งหมดจำนวน 12 ผลิตภัณฑ์ จากนักออกแบบระดับประเทศ 6 ท่าน คือ คุณกรกต อารมณ์  ,คุณรัฐ เปลี่ยนสุข,คุณศุภพงศ์ สอนสังข์ ,คุณธีรพจน์ ธีโรภาส ,คุณสุภาวินี จรุงเกียรติกุล และคุณชัยนรินทร์ ชลธนานารถ









นักออกแบบทั้ง 6 ท่าน ได้ร่วมกับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดปทุมธานี พัฒนาและสร้างสรรค์ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบประเภทของใช้ ของตกแต่งที่โดดเด่น มีวัตถุดิบจากการเกษตรและวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ตอบโจท์เทรนสินค้าไลฟ์สไตล์ เพิ่มโอกาสเข้าสู่ช่องทางการตลาดที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ

“THAICID” ร่วมกับ กรมชลประทาน เปิดเวที งานสัปดาห์เครือข่าย THAICID-NWIKS 2024

นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ ประจำปี 25...